ปัญหาขน คุดตามต้นแขนหรือต้นขา สามารถพบได้ตั้งแต่อายุย่างเข้าสู่วัยรุ่น ไปจนถึงวัยผู้ใหญ่ ถือว่าเป็นเรื่องปกติ เพราะ 40% ของผู้ใหญ่มักจะเกิดปัญหานี้ และใน 30-50% ของผู้ที่มีปัญหานี้มักพบว่ามีประวัติคนในครอบครัวเคยเป็นแบบนี้เช่นเดียวกัน เมื่อลูบไล้ไปตามผิวจะรู้สึกสะดุด มีสัมผัสหยาบกร้าน สากมือ บางคนอาจมีอาการคันระคายเคือง อักเสบ เป็นผื่นแดงและแพ้ง่าย แถมยังทำให้ผิวดูไม่สดใส สีผิวไม่สม่ำเสมอ บางคนถึงขั้นสูญเสียความมั่นใจเลย ไม่กล้าที่จะสวมใส่เสื้อผ้าเปิดเผยบริเวณนั้น เพราะฉะนั้น เรามาดูวิธีจัดการกับปัญหาขน คุด สาเหตุและการป้องกันอยากถูกวิธี เพื่อเผยให้ผิวเรียบเนียน ดูสุขภาพดี จะใส่ชุดไหนก็มั่นใจไม่มีหวั่น
ขนคุดคืออะไร?
ขน คุด (Keratosis Pilaris) ถือลักษณะของผิวหนังที่มีการอุดตันของรูขุมขน บริเวณที่มีการอุดตันจะมีตุ่มบวมนูนที่รูขุมขนขึ้นมา มักจะเกิดขึ้นบริเวณจุดที่มีผิวแห้ง หยาบกร้าน เมื่อสัมผัสหรือลูบคลำจะรู้สึกว่าผิวสาก ไม่เรียบเนียน มักเกิดขึ้นที่บริเวณท่อนแขนส่วนบน ต้นขา ก้น หรือใบหน้า โดยเฉพาะบริเวณแก้ม แต่จะไม่ส่งผลให้รู้สึกคัน เจ็บ หรือระคายเคือง สำหรับใครที่มีปัญหาขน คุดมักจะกังวลในเรื่องของผิวที่ไม่เรียบเนียนเป็นส่วนใหญ่
ขนคุดเกิดบริเวณไหนได้บ้าง?
- บริเวณแขน ข้อศอก ใต้วงแขนหรือรักแร้
- บริเวณขา น่อง ต้นขาและหัวเข่า
- ใบหน้า โดยเฉพาะแก้ม หน้าผาก
- บริเวณหลังหรือลำตัว
- บริเวณแก้มก้น
ขนคุดเกิดจากอะไร?
สาเหตุของการเกิดขน คุด มาจากความผิดปกติของการสะสมเคราตินในร่างกาย โดยเคลาตินเป็นโปรตีนของรูขุมขนที่ช่วยปกป้องการติดเชื้อของผิวหนัง และช่วยป้องกันสารอันตรายต่างๆ เมื่อเคราตินเกิดการสะสมมากขึ้น ทำให้ชั้นผิวหนาขึ้น ส่งผลให้ขนที่งอกใหม่ไม่สามารถทะลุผิวหนังขึ้นมาได้ เส้นขนจึงงอกยาวและม้วนงออยู่ใต้ชั้นผิว ดันให้ผิวบริเวณนั้นเกิดเป็นตุ่มนูนขึ้นมา จนทำให้ผิวบริเวณนั้นไม่เรียบเนียน
ส่วนใหญ่แล้วสาเหตุที่แท้จริงมักเกิดจากพฤติกรรมการแว๊กซ์ขนและการโกนขน เพราะจะทำให้เส้นขนขาดอยู่ในชั้นผิว ส่งผลให้ขนติดค้างอยู่ในรูขุมขน ส่วนในทางการแพทย์สันนิษฐานว่าอาจเกี่ยวข้องกับโรคทางพันธุกรรม หรือภาวะทางผิวหนังอื่นๆ เช่น โรคภูมิแพ้ผิวหนัง นอกจากนี้ผู้ที่มีผิวแห้งมักมีโอกาสเกิดขน คุดได้มาก และอาจมีอาการแย่ลงเมื่อเข้าสู่ช่วงฤดูหนาว เพราะมีความชื้นในอากาศน้อย ก็จะทำให้ผิวยิ่งแห้งขึ้นไปอีก
อาการของขนคุด
ขน คุดสามารถเกิดขึ้นได้กับคนทุกเพศทุกวัย แต่จะพบมากในเด็กเล็ก ซึ่งจะมีอาการดังต่อไปนี้
- มีตุ่มเล็กๆขึ้นตามผิวหนัง
- มักเกิดขึ้นที่บริเวณแขนส่วนบน ต้นขา แก้มหรือก้น แต่จะไม่ทำให้เกิดอาการคันและเจ็บ
- บริเวณผิวหนังที่เป็นตุ่มจะมีผิวที่แห้งและหยาบกร้าน
- เมื่อฤดูการเปลี่ยนแปลงโดยเฉพาะหน้าหนาวที่มีความชื้นในอากาศน้อย มักจะทำให้อาการแย่ลง ผิวบริเวณขน คุดจะแห้งกว่าเดิม ทำให้ตกสะเก็ดได้
- เมื่อลูบบริเวณผิวหนังจะทำให้รู้สึกถึงความไม่เรียบเนียน คล้ายกระดาษทราย
การวินิจฉัยขนคุด
โดยปกติแล้วผู้ที่มีขน คุดไม่มีความจำเป็นจะต้องไปพบแพทย์ เพราะเป็นภาวะที่ไม่มีความร้ายแรง แต่หากต้องการพบแพทย์ แพทย์จะวินิจฉัยโดยการตรวจดูผิวหนังบริเวณที่เกิดอาการ หรืออาจจะศึกษาอาการของผู้ป่วย มุ่งเน้นไปที่การตรวจสอบความเป็นไปได้ที่จะเกิดอาการเรื้อรัง รวมถึงตรวจสอบความจำเป็นในการรักษาอย่างต่อเนื่อง และอาจมีการให้คำแนะนำแก่ผู้ป่วยว่าภาวะขน คุดไม่ได้เป็นโรคติดต่อ และจะไม่ส่งผลต่อสุขภาพโดยรวม
การรักษาขนคุด
โดยปกติแล้วเมื่อมีอายุเพิ่มมากขึ้น ขน คุดจะค่อยๆหายไปเอง สามารถใช้ผลิตภัณฑ์เพิ่มความชุ่มชื้นเพื่อดูแลรักษาผิว ทำให้บริเวณที่เป็นขน คุดมีอาการดีขึ้นได้ แต่หากใช้แล้วไม่สามารถช่วยให้อาการดีขึ้น ก็สามารถไปพบแพทย์เพื่อขอครีมที่สั่งโดยแพทย์มาใช้ได้ โดยแพทย์อาจจะจ่ายยาต่อไปนี้ให้
- ครีมยาที่ช่วยกำจัดเซลล์ผิวที่ตายแล้ว แพทย์จะให้ใช้ครีมยาที่มีส่วนผสมของกรดอัลฟาไฮดรอกซี กรดแลคติก กรดซาลิไซลิกหรือยูเรีย ครีมที่มีส่วนผสมเหล่านี้จะช่วยผลัดและกำจัดเซลล์ผิวที่ตายแล้วให้ออกไป แถมยังช่วยให้ความชุ่มชื้น และช่วยให้ผิวที่แห้งกร้านมีความนุ่มนวลขึ้นด้วย นอกจากนี้แพทย์จะแนะนำวิธีการใช้ที่เหมาะสม เพราะกรดที่ผสมอยู่ในครีมเหล่านี้อาจทำให้เกิดอาการแดง หรือการระคายเคืองต่อผิวได้ ซึ่งจะไม่แนะนำให้ใช้กับเด็กหรือผู้ที่มีผิวบอบบาง แพ้ง่าย
- ครีมป้องกันการอุดตันของรูขุมขน แพทย์จะให้ครีมยาวิตามินเอ เช่น ยาเตรทติโนอิน ซึ่งสามารถช่วยให้เกิดการหมุนเวียนของเซลล์และป้องกันการอุดตันของรูขุมขน อย่างไรก็ตามครีมยาชนิดนี้อาจทำให้ผิวระคายเคือง หรือผิวแห้งขึ้นได้ สำหรับผู้ที่ตั้งครรภ์หรือกำลังให้นมบุตร แพทย์จะไม่ให้ใช้ครีมชนิดนี้ อาจจะต้องเลือกใช้เป็นวิธีรักษาอื่นแทน
- ทำเลเซอร์ไอพีแอล (Intense Pulsed Light : IPL) หรือเพาซ์ดายเลเซอร์ (Pulse Dye Laser) จะช่วยในเรื่องของการลดอาการแดงที่ผิวหนัง แต่จะไม่สามารถลดความหยาบกร้านหรือผิวที่ขรุขระได้ หรือบางรายแพทย์อาจแนะนำให้ทำเลเซอร์กำจัดขนร่วมด้วย
เซราไมด์และซาลิไซลิก แอซิด ช่วยดูแลปัญหาผิวขนคุดได้อย่างไร
อาการของขน คุดจะมีอาการของผิวแห้ง คัน ระคายเคือง ประกอบกับรูขุมขนที่มีการอุดตัน ดังนั้นหัวใจสำคัญในการดูแลปัญหาผิวจะต้องแก้ที่ 2 จุดคือ
- บรรเทาอาการแห้งคันระคายเคืองหรือการอักเสบของผิวที่อาจเกิดขึ้น
สำหรับอาการผิวแห้งนั้นเกิดจากชั้นปราการผิวที่ไม่แข็งแรง การเติมเซราไมด์ ซึ่งเป็นไขมันชนิดที่จำเป็นกลับเข้าสู่ผิว จะช่วยบรรเทาอาการผิวแห้ง คัน สำหรับคนที่มีปัญหาขน คุดได้ซึ่งเป็นสิ่งที่จำเป็นอย่างมากเพราะหากปล่อยให้มีอาการผิวแห้ง คัน และมีการเกาเกิดขึ้น จะทำให้ผิวยิ่งถูกทำร้ายมากยิ่งขึ้น มีโอกาสที่จะติดเชื้อบริเวณผิวหนังร่วมด้วยได้
- เร่งกระบวนการผลัดเซลล์ผิวพร้อมสลายเซลล์ผิวที่อุดตันบริเวณรูขุมขน
ในส่วนของการเร่งกระบวนการผลัดเซลล์ผิวและสลายสิ่งอุดตันที่รูขุมขน ทางการแพทย์แนะนำให้ใช้สารที่ช่วยในการผลัดเซลล์ผิวที่มีกรดผลไม้ต่างๆ เช่น
- AHA, BHA
AHA เช่น ไกลโคลิก แอซิด หรือ BHA เช่น ซาลิไซลิก แอซิด มีคุณสมบัติโดดเด่นมากเพราะสามารถละลายในไขมันได้ดีกว่า AHA ทั่วไป ทำให้สามารถซึมผ่านเข้าไปในรูขุมขนและเคลียร์เซลล์ผิวที่อุดตันรูขุมขนออกได้ดีกว่า ช่วยในการปรับผิวให้เรียบเนียนยิ่งขึ้น
- สารที่ช่วยผลัดเซลล์ผิวชนิดอื่นๆ
Gluconolactono หรือ PHA จุดเด่นของสารกลุ่มนี้คือมีโครงสร้างโมเลกุลที่ใหญ่ จึงไม่แทรกซึมเข้าไปผลัดเซลล์ผิวที่อยู่ชั้นล่าง จะผลัดเซลล์ผิวแต่ชั้นบนสุดเท่านั้น จึงมีความอ่อนโยนมากกว่ากรดชนิดอื่นๆ
ภาวะแทรกซ้อนของขนคุด
ขน คุดไม่ทำให้เกิดภาวะแทรกซ้อนที่เป็นอันตราย แต่อาจก่อให้เกิดความรำคาญและความวิตกกังวลกับรูปลักษณ์ นอกจากนี้ยังพบว่าผู้ที่มีอาการขน คุดมักจะมีโรคหรือภาวะทางผิวหนังอื่นๆด้วย เช่น ผิวหนังอักเสบ ออกผื่น หรือโรคผื่นภูมิแพ้ผิวหนัง รวมไปถึงผู้ที่มีสภาพผิวแห้งก็มีแนวโน้มที่จะเกิดขน คุดได้มากขึ้น
การป้องกันขนคุด
ถึงแม้ว่าจะไม่สามารถป้องกันการเกิดขน คุดได้ แต่สามารถทำให้อาการหรือสภาพผิวหนังดีขึ้นได้ ด้วยการดูแลผิว ไม่ทำให้ผิวแห้ง เพิ่มความชุ่มชื้นให้ผิวด้วยวิธีดังต่อไปนี้
- ไม่แกะหรือเกาบริเวณที่เป็นขนคุดเด็ดขาด ไม่ควรเกาบริเวณตุ่มรูขุมขน หรือขัดถูผิวหนังบริเวณที่เป็นขน คุดรุนแรงเกินไป เพราะอาจทำให้ผิวเกิดแผล เกิดรอยดำรอยแดงตามมาได้ ทำให้ต้องมีการรักษาเพิ่มเติมมากขึ้น
- หลีกเลี่ยงการอาบน้ำที่มีอุณหภูมิสูงจนเกินไป เวลาอาบน้ำควรใช้น้ำอุ่นที่มีอุณหภูมิไม่สูงมาก เมื่อต้องการอาบน้ำ แช่น้ำ หรือว่ายน้ำ ควรจำกัดเวลาอยู่ในน้ำไม่ให้นานจนเกินไป ประมาณ 10 นาทีหรือน้อยกว่านั้น เพราะเมื่ออาบน้ำร้อนหรืออยู่ในน้ำเป็นเวลานาน ก็จะทำให้ไขมันที่ผิวหนังถูกกำจัดไปจนทำให้ผิวแห้ง ขาดความชุ่มชื้น หรืออาจจะต้องเลือกครีมอาบน้ำที่เหมาะกับสภาพผิว
สำหรับผู้ที่มีผิวมัน ควรเลือกครีมอาบน้ำที่มีส่วนช่วยฟื้นบำรุงเกราะป้องกันผิวให้แข็งแรง ครีมอาบน้ำที่ถนอมผิวและทำความสะอาดผิวอย่างอ่อนโยน มีส่วนผสมที่ปราศจากความด่างของสบู่ จะช่วยคงสมดุลในการปกป้องชั้นผิว ทำให้ผิวรู้สึกแข็งแรงขึ้น เพิ่มความชุ่มชื้น ป้องกันผิวแห้งเสีย
สำหรับผู้ที่มีปัญหาผิวแห้ง ควรเลือกครีมอาบน้ำสูตรผสมน้ำมัน เพื่อเพิ่มความชุ่มชื้นให้กับผิว ช่วยฟื้นบำรุงผิวให้ชุ่มชื้น เสริมเกราะป้องกันให้ผิวแข็งแรง สามารถใช้ได้ทุกวันโดยไม่ทำให้ผิวเสียสมดุล ผิวไม่แห้งตึงหลังการอาบน้ำ
- ใช้ครีมบำรุงที่เพิ่มความชุ่มชื้นให้กับผิวเป็นประจำ หลังการอาบน้ำในขณะที่ผิวกำลังหมาดๆ สามารถใช้ครีมหรือโลชั่นที่ให้ความชุ่มชื้นกับผิว ซึ่งอาจมีส่วนผสมของลาโนลิน ปิโตรเลียม เจลลี่ หรือกลีเซอรีน และควรเลือกให้เหมาะกับสภาพผิวด้วย
5 วิธีจัดการ ขนคุด เผยผิวเรียบเนียน
ขน คุดเป็นปัญหาที่หลายคนต้องพบเจอ สาเหตุมาจากการกำจัดเส้นขนที่ไม่ถูกวิธี จนทำให้ผิวไม่เรียบเนียน ทำให้ขาดความมั่นใจได้ในที่สุด หลายคนจึงมองหาวิธีการแก้ไขเพื่อให้ผิวกลับมาเรียบเนียนอีกครั้ง เรามีวิธีจัดการกับขน คุดที่สามารถทำตามได้ง่ายๆมาฝากด้วยค่ะ
- ถอนขนคุด
การใช้แหนบถอนขนถือเป็นวิธีที่ง่ายที่สุด แต่ก็เป็นวิธีที่ค่อนข้างเจ็บ เพราะจะต้องใช้แหนบสะกิดบริเวณตุ่มเพื่อให้เซลล์ผิวหนังที่ปิดบริเวณรูขุมขนออก แล้วจึงค่อยดึงเส้นขนออกมา ซึ่งต้องใช้เวลาค่อนข้างนาน และก็ไม่รับประกันว่าขน คุดทุกเส้นจะสามารถถอนออกมาได้ แต่หากเป็นเส้นขนที่ไม่ยาวมากนักและตุ่มไม่ใหญ่มากก็อาจสามารถถอนออกมาได้
- สครับผิว
การสครับหรือขัดผิวก็เป็นอีกวิธีหนึ่งที่ช่วยกำจัดขน คุดได้ เนื่องจากการสครับผิวเป็นการกำจัดเซลล์ผิวหนังที่ตายแล้วที่ยังหลงเหลืออยู่บนผิวหนัง รวมไปถึงเซลล์ผิวหนังที่ตายแล้วที่ปิดรูขุมขนอยู่ ดังนั้นการสครับผิวบ่อยๆจะช่วยให้ขน คุดลดลงได้ แต่จะต้องเลือกใช้ผลิตภัณฑ์สครับผิวที่อ่อนโยนด้วย เพราะหากขัดผิวแรงเกินไปแทนที่ผิวจะเรียบเนียนและกระจ่างใสขึ้น ก็อาจทำให้ผิวเสียเกิดการระคายเคืองตามมา
- ใช้ยาทา
การรักษาด้วยการใช้ยาทาก็สามารถทำได้เช่นกัน โดยยาที่ใช้รักษาจะมีส่วนผสมที่สามารถผลัดเซลล์ผิวอย่างสาร AHA และ BHA หรือกรดวิตามินจากผลไม้โดยสารเหล่านี้ มักจะพบได้ในยารักษาสิว ดังนั้นจึงมีความปลอดภัยสูง แต่อย่างไรก็ตามควรปรึกษาแพทย์ก่อนใช้ยารักษาขน คุด เพื่อความปลอดภัย
- หลีกเลี่ยงการใช้ครีมบำรุงชั่วคราว
สำหรับคนที่ไม่มีปัญหาในเรื่องของผิวหนัง การทาครีมบำรุงเป็นประจำก็จะช่วยให้สุขภาพผิวดีขึ้น แต่ถ้าใครมีปัญหาขน คุดการทาครีมบำรุงผิวก็ถือเป็นสิ่งที่ควรหลีกเลี่ยง เพราะครีมบำรุงที่มีส่วนประกอบต่างๆของน้ำมันหรือน้ำหอม อาจทำให้ผิวหายใจไม่สะดวก ส่งผลให้ยิ่งเกิดการอุดตันรอบรูขุมขนได้มากขึ้น ผลที่ตามมาก็คืออาจจะทำให้ขน คุดนั้นกลายเป็นสิวหรือผิวหนังอักเสบได้ในที่สุด เพราะฉะนั้นควรงดทาครีมบริเวณขน คุดชั่วคราวก่อน
- เลเซอร์ขน
การเลเซอร์ขนถือเป็นวิธีแก้ปัญหาที่ต้นเหตุ มีประสิทธิภาพสูง เนื่องจากการทำเลเซอร์ไม่ได้ทำเพียงเพื่อกำจัดเส้นขนเท่านั้น แต่ยังสามารถทำลายรากขนบริเวณที่เป็นขน คุดได้อีกด้วย ผลที่ตามมาจากการทำเลเซอร์ก็คือ ปัญหาขน คุดจะลดลงและหายไปในที่สุด โดยไม่จำเป็นต้องใช้ยาหรือเจ็บตัวไปกับการถอนด้วยแหนบ
การทำเลเซอร์ แพทย์ผู้เชี่ยวชาญจะแนะนำให้ทำติดต่อกันอย่างน้อย 5-8 ครั้ง เพื่อประสิทธิภาพที่ดีที่สุดสำหรับการกำจัดขน โดยจะเห็นความเปลี่ยนแปลงที่ชัดเจนได้ตั้งแต่ครั้งที่ 4 หรือ 5 หากทำเลเซอร์ครบตามจำนวนครั้งที่ผู้เชี่ยวชาญแนะนำแล้ว บางคนก็อาจจะไม่มีขนขึ้นอีกเลย หรือจะมีเพียงเส้นขนเล็กๆบางๆเท่านั้น ทั้งนี้ผลลัพธ์จะขึ้นอยู่กับแต่ละบุคคลด้วย
ผิวเรียบเนียนจะช่วยให้สาวๆมีความมั่นใจมากขึ้น สำหรับใครที่มีปัญหาขน คุด การดูแลตัวเองเลือกผลิตภัณฑ์บำรุงผิวที่เหมาะกับสภาพผิว หลีกเลี่ยงการทำร้ายผิวและทำให้ผิวบอบบาง ก็จะเป็นเกราะป้องกันไม่ให้ขนคุดเกิดซ้ำและกลับมาสร้างความกังวลใจได้อีก