“วัยทอง” (Menopause) ภาวะที่เกี่ยวข้องกับระบบฮอร์โมนที่เปลี่ยนแปลงไปในร่างกาย ในรอยต่อระหว่างวัยเจริญพันธุ์และวัยผู้สูงอายุ โดยสามารถเกิดขึ้นได้ทั้งกับชายและหญิงที่อยู่ในช่วงอายุ 45-50 ปี โดยเฉพาะในผู้หญิง ซึ่งเป็นภาวะที่เข้าสู่วัยหมดประจำเดือน เป็นช่วงที่รังไข่หยุดสร้างฮอร์โมนเพศหญิงอย่างเอสโตรเจนและโปรเจสเตอโรน ซึ่งไม่เพียงมีสัญญาณทางร่างกายที่กำลังบ่งบอกว่ากำลังก้าวเข้าสู่วัยแห่งการเปลี่ยนถ่าย ไม่ว่าจะเป็นอาการร้อนวูบวาบบริเวณลำตัวส่วนบน หนาวสั่น วิตกกังวลหรือใจสั่น นอกจากนี้ยังมีอาการที่แสดงออกทางผิวหนัง ไม่ว่าจะเป็นผิวเหี่ยว ผิวแห้งบาง ขาดความยืดหยุ่น เป็นแผล หรือเป็นฝ้ากระได้โดยง่ายอีกด้วย
ลักษณะผิวของคนวัยทอง
โดยปกติ รังไข่ของผู้หญิงจะเริ่มทำงานได้อย่างเต็มที่ในช่วงวัยรุ่นจนถึงวัยกลางคน โดยจะทำหน้าที่ผลิตฮอร์โมนเพศหญิงที่เรียกว่า “เอสโทรเจน” และ “โปรเจสเตอโรน” เมื่อเมื่ออายุเพิ่มมากขึ้น ประสิทธิภาพการทำงานของรังไข่จะน้อยลงจนถึงหยุดทำงานไปในที่สุด และแน่นอนว่าเมื่อระดับฮอร์โมนทั้งสองชนิดนี้ลดลง ก็จะส่งผลต่อการเปลี่ยนแปลงของระบบร่างกายและสภาพจิตใจได้อีกด้วย ไม่เพียงเท่านั้น ยังส่งผลกระทบต่อสภาพผิวพรรณตามมาดังต่อไปนี้
- ผิวบางลง
ในช่วงวัยทอง เลือดที่หล่อเลี้ยงอยู่ใต้ผิวหนังจะไหลเวียนได้น้อยลง เนื่องจากหลอดเลือดใต้ผิวหนังบางส่วนอยู่ภายใต้การควบคุมของฮอร์โมนเอสโทรเจน เมื่อฮอร์โมนชนิดนี้ลดลง ทำให้เกิดภาวะเลือดไหลเวียนได้น้อยลงเมื่อเข้าสู่วัยหมดประจำเดือน ส่งผลให้มีการนำพาออกซิเจนและสารอาหารที่จำเป็นต่อผิวได้น้อยลงด้วย นั่นจึงเป็นสาเหตุของผิวบาง - ผิวถูกทำร้ายโดยแสงแดดได้ง่าย
เมื่อฮอร์โมนเอสโทรเจนของคนวัยทองลดน้อยลง ทำให้เมลาโนไซต์ ซึ่งเป็นเซลล์ที่ผลิตเม็ดสีเมลานินในชั้นผิวมีจำนวนลดลงและเสื่อมสภาพลง ทำให้ประสิทธิภาพในการช่วยป้องกันผิวจากยูวีในแสงแดดลดน้อยลงด้วย ทำให้ผิวคล้ำเสียได้ง่ายขึ้น - ผิวหย่อนคล้อย ริ้วรอยชัดขึ้น
อีกหนึ่งหน้าที่สำคัญของฮอร์โมนเอสโทรเจน คือช่วยสร้างคอลลาเจนและอีลาสติน แต่เมื่อฮอร์โมนชนิดนี้ลดลงในช่วงเข้าสู่วัยทอง ก็หมายความว่าคอลลาเจนและอีลาสตินก็ถูกสร้างน้อยลงด้วย และเท่ากับเป็นการเปิดโอกาสให้แสงแดดทำร้ายผิวได้ง่ายขึ้น นั่นจึงเป็นสาเหตุที่ทำให้ผิวดูหย่อนคล้อยและมีริ้วรอยชัดมากขึ้น และนอกจากนั้น ผิวพรรณที่เคยเต่งตึงมีน้ำมีนวล ซึ่งเกิดจากโปรตีนพิเศษซึ่งทำหน้าที่อุ้มน้ำในชั้นผิวหนังแท้ ก็จะเริ่มแห้งเหี่ยวลง ซึ่งเป็นผลพวงที่เกิดจากฮอร์โมนเอสโทรเจนลดน้อยลง ทำให้โปรตีนตัวดังกล่าวนี้ถูกสร้างน้อยลงด้วย ดังนั้นรอยเหี่ยวย่น และความหยาบกร้านของผิวก็จะปรากฏชัดเจนขึ้น - สีผิวไม่สม่ำเสมอ เกิดฝ้า กระ จุดด่างดำ
เมื่อเซลล์ผิวมีการผลิตเม็ดสีเมลานินน้อยลง เนื่องจากฮอร์โมนเอสโทรเจนลดลง เมื่อผิวมีการสัมผัสกับแสงแดด ก็จะไปกระตุ้นให้เมลานินทำงานหนักมากขึ้น ทำให้เกิดฝ้า กระ จุดด่างดำและสีผิวไม่สม่ำเสมอได้ง่ายขึ้นด้วย - ผิวแห้งกร้าน
อีกหนึ่งผลกระทบจากการที่ระดับฮอร์โมนเอสโทรเจนลดลง ทำให้ความชุ่มชื้นในชั้นผิวลดลง ส่งผลให้ความยืดหยุ่นของผิวหายไปด้วย จึงทำให้ผิวของคนในวัยนี้แห้ง หยาบกร้าน - เป็นสิว
ในช่วงวัยทอง แม้ฮอร์โมนเอสโทรเจนจะมีปริมาณลดลง แต่ฮอร์โมนเทสโทสเตอร์โรน ซึ่งเป็นฮอร์โมนเพศชายยังคงมีปริมาณเท่าเดิม ซึ่งฮอร์โมนชนิดนี้จะไปกระตุ้นต่อมไขมันเพื่อสร้างน้ำมันให้ออกมายังชั้นผิวมากขึ้น และสามารถก่อให้เกิดการอุดตันในรูขุมขนได้หากไม่ได้รับการดูแลเอาใจใส่อย่างถูกต้องและเหมาะสม นี่จึงเป็นเหตุผลว่าทำไมจึงมีสิวขึ้นในช่วงวัยหมดประจำเดือน
ลักษณะของฝ้าในวัยทอง
หนึ่งในปัญหาผิวของคนในช่วงวัยทองคือการเป็น “ฝ้า” ซึ่งรอยฝ้าอาจจะเริ่มหนาและมีสีที่เข้มมากขึ้นตามลำดับ ขึ้นอยู่กับปัจจัยกระตุ้นอื่นๆที่เกี่ยวข้อง ไม่ว่าจะเป็นกรรมพันธุ์ การที่ผิวสัมผัสกับแสงแดดเป็นเวลานานและบ่อยๆ รวมไปถึงการเปลี่ยนแปลงของระบบฮอร์โมนในร่างกาย ก็สามารถทำให้เกิดฝ้าขึ้นได้ ซึ่งสามารถพบฝ้าได้ทั่วใบหน้า ไม่ว่าจะเป็นหน้าผาก โหนกแก้ม เหนือริมฝีปาก รวมถึงบริเวณจมูก ซึ่งจากการสำรวจพบว่าจะเกิดฝ้าในผู้หญิงมากกว่าผู้ชาย เนื่องจากเกี่ยวข้องกับระบบฮอร์โมนในขณะตั้งครรภ์(Mark of pregnancy) หรือเป็นฝ้าที่เกิดจากการเปลี่ยนแปลงของระดับฮอร์โมนในระหว่างวัยหมดประจำเดือน หรือฝ้าที่เกิดจากการรับประทานยาบางกลุ่มที่มีผลต่อการคุมกำเนิด โดยฝ้าที่พบได้ในวัยทอง มีดังต่อไปนี้
- ฝ้าชนิดตื้น (Epidermal Type)
เกิดขึ้นเนื่องจากการสร้างเม็ดสีเมลานินที่มากกว่าปกติในระดับชั้นผิวหนังกำพร้า ซึ่งเป็นผิวหนังชั้นนอก มีลักาณะเป็นสีน้ำตาลเข้มไปจนถึงสีเทาดำ มองเห็นขอบเขตของฝ้าได้ชัด สามารถเกิดขึ้นได้โดยง่าย สามารถรักษาให้หายได้ด้วยวิธีการที่ถูกต้องและเหมาะสม แต่ถ้าหากปล่อยทิ้งเอาไว้ อาจลุกลามกลายเป็นฝ้าที่มีระดับความรุนแรงที่มากกว่าได้ - ฝ้าชนิดลึก (Dermal Type)
เป็นฝ้าที่มักเกิดขึ้นในระดับชั้นผิวหนังแท้ที่อยู่ใต้ผิวหนังกำพร้า มักจะมีสีน้ำตาลอ่อน สีเทา สีเทาอมฟ้าหรือสีม่วงอมน้ำเงิน มีขอบเขตฝ้าไม่ชัดเจน โดยจะกลืนไปกับผิวหน้าเป็นบริเวณกว้าง รักษาได้ยากกว่าฝ้าชนิดตื้น - ฝ้าชนิดผสม (Mix Type)
เป็นลักษณะของฝ้าที่ผสมกันระหว่างฝ้าลึกและฝ้าตื้น มักเกิดกับผู้ที่มีอายุมากขึ้น เกิดทั้งในระดับผิวหนังชั้นนอกและผิวหนังแท้ โดยมีจุดสังเกตคือบริเวณกลางของแผ่นฝ้ามักจะมีสีเข้มจัด ส่วนรอบๆแผ่นฝ้าจะมีสีที่จางกว่า
ปัจจัยกระตุ้นที่ทำให้เกิดฝ้าวัยทอง
แน่นอนว่า ปัญหาฝ้าวัยทอง มีสาเหตุหลักมาจากการเปลี่ยนแปลงของระดับฮอร์โมนในร่างกาย ส่งผลต่อผิวพรรณได้โดยตรง แต่ทั้งนี้ทั้งนั้น ก็มีปัจจัยกระตุ้นที่เพิ่มโอกาสในการทำให้เกิดฝ้าได้ง่ายขึ้น ดังนี้
- พันธุกรรม
หากคนในครอบครัวมีประวัติในการเป็นฝ้ามาก่อน มีรายงานว่าโอกาสที่คนรุ่นต่อมาจะเป็นฝ้ามีมากถึง 50% เลยทีเดียว โดยเฉพาะคนที่มีผิวสีคล้ำ - แสงแดด
แสงแดดเป็นตัวระตุ้นชั้นยอดที่ทำให้เกิดฝ้าได้โดยง่าย โดยคนส่วนใหญ่มักเป็นฝ้าในบริเวณที่สัมผัสกับแสงแดดอยู่เป็นประจำและสม่ำเสมอ เช่นบริเวณจมูก แก้ม หน้าฝาก และฝ้าจะมีสีเข้มมากขึ้น เมื่อสัมผัสกับแสงแดดเป็นเวลานาน ซึ่งแสงที่ทำให้เกิดฝ้าไม่เพียง UV-A หรือ UV-B เท่านั้น แต่รวมถึง Visible light แสงจากจอคอมพิวเตอร์หรือจากมือถือด้วย - การใช้ยาบางชนิด
ยางบางชนิด เสี่ยงต่อการกระตุ้นให้เกิดฝ้า เพราะทำให้ผิวไวต่อแสงมากขึ้น ไม่ว่าจะเป็น ยากันชัก (Anticonvulsant) ยาปฏิชีวนะบางชนิด กลุ่มยาแก้อักเสบชนิดไม่ใช่สเตียรอยด์ (NSAIDs) ยาขับปัสสาวะ (Diuretics Drugs) เรตินอยด์ (Retinoid) กลุ่มยาลดน้ำตาลในเลือด (Hypoglycaemics) ยาต้านอาการทางจิต (Antipsychotics) และยารักษามะเร็งแบบมุ่งเป้า (Targeted Therapy) - ฮอร์โมน
ไม่เพียงวัยทองหรือวัยหมดประจำเดือนเท่านั้น ที่เกี่ยวข้องกับระบบฮอร์โมนและกระตุ้นให้เกิดฝ้า แต่ฝ้าฮอร์โมนยังเกี่ยวกับภาวะการตั้งครรภ์ โดยเฉพาะในช่วงไตรมาสที่ 2-3 การให้ฮอร์โมนทดแทน(Hormone Replacement Therapy) การทานยาคุมกำเนิด รวมถึงการใช้เครื่องสำอางที่มีฮอร์โมนเป็นส่วนผสมด้วย - แพ้น้ำหอมหรือเครื่องสำอาง
เนื่องจากสารที่ให้ความหอมบางชนิด สามารถทำปฏิกิริยากับแสงแดด แล้วทำให้เกิดรอยคล้ำขึ้นได้ เช่น สบู่หอม หรือน้ำยาที่ใช้หลังการโกนหนวด เป็นต้น ไม่เพียงเท่านั้น ยังรวมไปถึงเครื่องสำอางที่มีส่วนผสมของสารอันตราย เช่น ปรอท สเตียรอยด์ หรือไฮโดรควินโนน ก็สามารถทำให้เกิดรอยดำหรือฝ้าตามมาได้ - ภาวะทุพโภชนา
เป็นอีกหนึ่งสาเหตุที่มีความเป็นไปได้และเกี่ยวข้องการกับการเกิดฝ้าในวัยทอง โดยเฉพาะผู้ที่มีปัญหาเรื่องการทำงานของตับที่ผิดปกติ รวมถึงผู้ที่ขาดวิตามิน บี 12 เป็นต้น - ภาวะขาดไทรอยด์ (Hypothyroidism) ก็สามารถทำให้เกิดฝ้าได้เช่นกัน
- ปัจจัยอื่นๆที่สามารถกระตุ้นให้เกิดฝ้าเช่น ความเครียด แสง LED หรือเตียงอบผิวแทน ที่ทำให้ผิวเกิดความร้อนที่เพิ่มมากขึ้น เป็นต้น
วิธีการรักษาฝ้าวัยทอง
ปัจจุบันมีเทคโนโลยีมากมายที่ถูกนำมาใช้ในการรักษาฝ้า ด้วยการผสมผสานในหลากหลายวิธีเข้าด้วยกัน เพื่อการรักษาที่มีประสิทธิภาพและยั่งยืนมากยิ่งขึ้นในระยะยาว ดังต่อไปนี้
- การรักษาฝ้าด้วยการใช้ยา
เป็นวิธีการรักษาฝ้าที่ได้รับความนิยม ตั้งแต่อดีตจนถึงปัจจุบัน โดยยารักษาฝ้าส่วนใหญ่จะปรากฏในรูปแบบของครีม โลชั่น หรือเจลที่มีส่วนผสมของสารที่ช่วยยับยั้งเอนไซม์ไทโซซิเนส (Tyrosinase) ที่เป็นสาเหตุสำคัญในการสร้างเม็ดสีเมลานิน โดยสารที่เป็นส่วนผสมของยารักษาฝ้าที่นิยมใช้และได้ผลดี ได้แก่ สารไฮโดรควิโนน (Hydroquinone) โดยแพทย์จะใช้สารตัวนี้ในระยะเวลาหนึ่งเท่านั้น เพราะอาจส่งผลข้างเคียงอย่างอื่นได้ สารเตรทติโนอิน (Tretinoin) และยาสเตียรอยด์ที่มีความแรงในระดับปานกลาง ไม่เป็นอันตรายต่อผิว รวมถึงสารตัวอื่นๆที่มีฤทธิ์ในการรักษา ไม่ว่าจะเป็น กรดอะซีลาอิก (Azelaic Acid) กรดโคจิก (Kojic Acid) ซีสทีอามีน (Cysteamine) ยาสเตียรอยด์ไฮโดรคอร์ติโซน (Hydrocortisone) กรดแอสคอร์บิก (Ascorbic Acid) เมไทมาโซล (Methimazole) กรดทรานเอกซามิก (Tranexamic Acid) กลูตาไธโอน (Glutathione) และสารสกัดจากถั่วเหลือง (Soybean Extract) เป็นต้นในบางกรณี แพทย์อาจจ่ายยาชนิดรับประทานร่วมด้วย เช่น ยาเมไทมาโซล (Methimazole) หรือกรดทรานเอกซามิก (Tranexamic Acid ) เป็นต้น
แน่นอนว่า ในการรักษาฝ้าด้วยยา อาจมีผลข้างเตียงตามมาเสมอ ไม่มากก็น้อย ขึ้นอยู่กับความเข้มข้นของตัวยา รวมถึงระยะเวลาในการเห็นผลช้าหรือเร็ว ซึ่งควรได้รับคำแนะนำและการดูแลอย่างใกล้ชิดจากแพทย์ผู้เชี่ยวชาญเท่านั้น เพื่อป้องกันอันตรายและความเสียหายที่อาจเกิดขึ้นอย่างรุนแรงต่อผิวทั้งในระยะสั้นและระยะยาวตามมา
- การรักษาฝ้าด้วยหัตถการทางการแพทย์
การรักษาฝ้าด้วยวิธีหัตถการทางการแพทย์ กำลังได้รับความนิยมอย่างแพร่หลายในปัจจุบัน โดยสามารถรักษาควบคู่กับการใช้ยาได้ ตามคำแนะนำของแพทย์ ซึ่งหัตถการดังกล่าวมีดังต่อไปนี้ - การรักษาฝ้าด้วยเลเซอร์
การใช้เลเซอร์ในการักษาฝ้า เป็นหนึ่งในนวัตกรรมทางการแพทย์ ที่ถูกคิดค้นและพัฒนาขึ้นมาเพื่อการรักษาฝ้า กระ รวมถึงจุดด่างดำได้อย่างมีประสิทธิภาพ เนื่องจากการใช้แสงเลเซอร์ อาจจะส่งผลข้างเคียงต่อผิวหนังบริเวณข้างเคียงได้ ดังนั้นควรอยู่ภายใต้การดูแลของแพทย์ผู้เชี่ยวชาญเท่านั้น โดยชนิดของเลเซอร์ส่วนใหญ่ที่ใช้ในการักษา เช่น Q–Switched Nd:YAG ,IPL(Intense Pulsed Light) , Laser Rejuvenation และ Picosecond Laser ไม่เพียงการรักษาเท่านั้น แต่เลเซอร์บางชนิดยังสามารถช่วยกระตุ้นการสร้างคอลลาเจนให้แก่ผิวหน้าในระหว่างที่มีการรักษาอีกด้วย หลังการทำเลเซอร์ จะต้องมีการดูแลผิวหนังให้ดีมากกว่าปกติ เนื่องจากการทำเลเซอร์อาจจะทำให้ผิวบางลงและมีการระคายเคืองได้โดยง่าย ดังนั้นควรเลี่ยงการสัมผัสแสงแดดจัด หมั่นทาครีมกันแดดที่มีค่า SPF สูงกว่า 30 หมั่นทางครีมบำรุงผิวหรือมอยส์เจอร์ไรเซอร์ เป็นต้น แม้การใช้เลเซอร์ในการรักษาจะใช้ระยะเวลาที่ค่อนข้างรวดเร็ว แต่ผลลัพธ์ในการรักษาก็ขึ้นอยู่กับสภาพผิวของแต่ละคนด้วยเช่นกัน - การรักษาฝ้าด้วยการผลัดเซลล์ผิว
การผลัดเซลล์ผิว เป็นอีกหนึ่งวิธีที่ถูกนำมาใช้ในการรักษาฝ้า โดยมีหลากหลายประเภท ดังนี้ - การใช้สารเคมีขจัดผิวหนังชั้นนอกออก(Chemical Peel) โดยใช้กรด
อัลฟาไฮดรอกซี (Alpha–hydroxy Acids: AHA) หรือกรดเบต้าไฮดรอกซี(Beta–hydroxy Acids: BHA) เป็นต้น - การศัลยกรรมขัดผิวหนัง(Dermabrasion) เป็นการใช้อุปกรณ์ที่มีแปรงหรือวงล้อ ขัดผิวหนังชั้นบนออก
- การกรอผิวด้วยผงผลึกแร่(Microdermabrasion) หรือที่เรียกว่า การขัดผิวด้วยเกร็ดอัญมณีซึ่งเป็นผลึกคริสตัล โดยพ่นไปที่ผิวหนังเพื่อขจัดผิวหนังชั้นบนออก อาจจะมีอาการบวมหรืออักเสบเล็กน้อยหลังทำ
ไม่ว่าจะเป็นการรักษาฝ้าโดยใช้ยาที่มีส่วนผสมของสารต่างๆเพื่อยับยั้งเม็ดสีผิวหรือใช้หัตถการทางการแพทย์ก็ตาม จำเป็นต้องมีการปกป้องดูแลผิวร่วมด้วย เพื่อเสริมประสิทธิภาพในการรักษาให้ได้ผลดีมากขึ้น นอกจากนี้ สำหรับผู้ที่อยู่ในช่วงที่กำลังตั้งครรภ์หรือให้นมบุตร ควรหลีกเลี่ยงการรักษาฝ้าในช่วงเวลานี้ เนื่องจากอาจจะส่งผลต่อการเจริญเติบโตของทารกในครรภ์ได้
ภาวะแทรกซ้อนของฝ้า
โดยทั่วไปแล้ว “ฝ้า” ไม่ได้ส่งผลเสียหายหรือเป็นอันตรายต่อร่างกายแต่อย่างใด เว้นแต่เรื่องของความสวยงามทางผิวพรรณเท่านั้น แต่ในกระบวนการรักษาอาจเกิดอาการแทรกซ้อนขึ้นได้ เช่น อาจมีอาการผิวหนังอักเสบจากการแพ้ยาประเภท ไฮโดรควิโนน ยาเตรทติโนอิน และกรดอะซีลาอิค รวมถึงผิวหนังชั้นบนถูกทำร้ายจากการผลัดเซลล์ผิวด้วยสารเคมีจนเกิดเป็นแผลนูนแดงและมีรอยดำ
การป้องกันฝ้าวัยทอง
การรักษาฝ้าวัยทอง ไม่ต่างจากการรักษาฝ้าทั่วๆไป ซึ่งต้องใช้ระยะเวลากว่าจะจางลง ดังนั้นการป้องกันผิวหน้าตั้งแต่เนิ่นๆจึงเป็นเหมือนเกราะป้องกันที่จะไม่เพิ่มความเสี่ยงในการเกิดฝ้า สามารถทำได้ด้วยวิธีต่างๆ ดังต่อไปนี้
- การดูแลจากภายใน
อย่างที่เราทราบกันดี ว่า “ฝ้าวัยทอง” มีสาเหตุหลักมาจากการเปลี่ยนแปลงของระบบฮอร์โมนภายในร่างกาย ดังนั้นเพื่อการป้องกันและรักษาอย่างตรงจุด สามารถทำได้ ดังนี้ - ทำใจให้สบาย เรียนรู้ที่จะปล่อยวางกับอารมณ์ฉุนเฉียว หงุดหงิดที่มาพร้อมกับวัยทอง
- หลีกเลี่ยงการรับฮอร์โมนจากภายนอก จำพวกฮอร์โมนทดแทนหรือการรับยาฮอร์โมน
- เลี่ยงการทานอาหารเสริมหรือยามากเกินพอดี ให้เปลี่ยนมารับประทานอาหารที่มีประโยชน์ครบถ้วนต่อความต้องการของร่างกายแทน และให้ออกกำลังกายอย่างสม่ำเสมอ
- งดยาบางชนิดที่มีผลต่อฮอร์โมน และมีฤทธิ์กระตุ้นการสร้างเมลานิน ทำให้ฝ้ามีความเข้มมากยิ่งขึ้น
- การดูแลภายนอก
มีปัจจัยภายนอกมากมาย เป็นตัวเร้าที่ทำให้เกิดฝ้าได้ ดังนั้นควรมีการดูแลและปกป้องผิวมากขึ้นอีกระดับ ดังต่อไปนี้ - หลีกเลี่ยงแสงแดด
โดยเฉพาะแสงแดดที่อยู่ในช่วงเวลา 00 -16.00 น. เนื่องจากเป็นช่วงเวลาที่มีแสงยูวีเข้มข้นมากที่สุด แต่ถ้าหากจำเป็น ควรสวมหมวก กางร่ม หรือทาครีมกันแดดที่มีค่า SPF มากกว่า 30 เพื่อปกป้องผิว ครีมกันแดดที่ใช้ควรมีส่วนผสมทั้งสารเคมีที่กันแดดได้ร่วมกันส่วนผสมของแป้ง(physical sunscreen) เพราะมีคุณสมบัติที่จะช่วยสะท้อนแสงแดดออกไปจากผิว โดยมีส่วนผสมหลักของสารไททาเนียมไดออกไซด์ (titanium dioxide) และซิงก์ออกไซด์ (zinc oxide) - หลีกเลี่ยงการใช้เครื่องสำอางที่มีฮอร์โมนหรือที่มีส่วนผสมของสารสกัดจากรก(Placental extract)เป็นส่วนประกอบ
- ใช้ครีมหรือเครื่องสำอางที่ได้มาตรฐาน ที่ไม่มีส่วนผสมของสารอันตรายที่ทำลายโครงสร้างของผิว พร้อมทั้งบำรุงผิวด้วยสกินแคร์ที่เหมาะสมกับสภาพผิวและเหมาะกับวัย
ผลิตภัณฑ์ Mesoestetic รักษาฝ้าวัยทองได้อย่างไร
cosmelan by mesoestetic ได้ถูกคิดค้นและพัฒนามาเพื่อการรักษาฝ้าอย่างสมบูรณ์แบบ ที่เห็นผลลัพธ์อย่างชัดเจนเมื่อทำการรักษาอย่างต่อเนื่อง ภายใต้คำแนะนำของผู้เชี่ยวชาญ โดยตัวผลิตภัณฑ์สามารถยับยั้งการเกิดฝ้าทั้ง 4 กลไก โดยเริ่มตั้งแต่การยับยั้งการสร้างเม็ดสีที่เซลล์เมลาไซต์ ซึ่งเป็นเสมือนโรงงานผลิตเม็ดสี ,ยับยั้งการลำเลียงเม็ดสี,ลดการสะสมของเม็ดสีในชั้นผิวหนัง และเข้าสู่กระบวนการผลัดเซลล์ผิว โดยการขจัดเม็ดสีบนผิวออกไป ซึ่งเซ็ทในการรักษาฝ้า ประกอบด้วย
- Degreasing solution ช่วยขจัดน้ำมันส่วนเกินและสิ่งตกค้างที่อยู่บนผิวออกไป เพื่อผิวหน้าจะได้ดูดซึมรับสารอาหารได้ดีมากยิ่งขึ้น
- COSMELAN 1 facial mask เป็นมาส์กลอกฝ้า ประกอบด้วยสารสกัดที่มีความเข้มข้นสูง มีฤทธิ์ในการลอกหรือผลัดเซลล์ผิวด้านบนให้หลุดลอกออกมา เพื่อเผยผิวหน้าที่กระจ่างใส ไร้ฝ้าได้อย่างมั่นใจ
- COSMELAN 2 cream (maintenance cream) ด้วยเทคโนโลยีของครีมทาผิวเพื่อช่วยผลัดเซลล์ผิวและยับยั้งการสร้างเม็ดสี ช่วยลดเลือนฝ้า กระ จุดด่างดำ ได้อย่างต่อเนื่อง โดยใช้ภายหลังผลิตภัณฑ์ cosmelan 1 โดยช่วยป้องกันการเกิดรอยดำขึ้นมาใหม่และป้องกันการเกิดรอยดำซ้ำได้ดีอีกด้วย
- melan recovery บาล์มบำรุงผิวสูตรเข้มข้น โดยใช้บำรุงผิวอย่างต่อเนื่องควบคู่กับ cosmelan2 ช่วยปลอบประโลมผิว ฟื้นฟูบำรุงผิวได้อย่างล้ำลึก บรรเทาอาการอักเสบ การระคายเคือง และให้ความชุ่มชื้นแก่ผิวหลังจากการทำทรีทเม้นท์ พร้อมเสริมเกราะป้องกันผิวให้แข็งแรงมากขึ้นด้วย
- mesoprotech melan 130 pigment control
ขาดไม่ได้เลยสำหรับครีมกันแดดสูตรพิเศษอย่าง mesoprotech melan 130 pigment control ที่มีค่า SPF 50+ พร้อมช่วยปกป้องผิวจากรังสี UVA และ UVB ด้วยเนื้อกันแดดสีเบจ ช่วยปกปิดจุดด่างดำและรอยหมองคล้ำได้อย่างเป็นธรรมชาติ เกลี่ยง่ายด้วยเนื้อสัมผัสที่บางเบา ทั้งยังช่วยลดเลือนและป้องกันการเกิดจุดด่างดำและความหมองคล้ำของผิวได้อย่างดีเยี่ยม
“ฝ้าวัยทอง” ปัญหาผิวพรรณที่มาพร้อมกับการเปลี่ยนแปลงของระดับฮอร์โมนภายในร่างกาย พร้อมปัจจัยกระตุ้นภายนอกมากมายที่ทำให้อาการของฝ้าเด่นชัดขึ้น ไม่ว่าจะเป็นฝ้าตื้น ฝ้าลึกหรือฝ้าผสม ซึ่งในปัจจุบันได้มีการคิดค้นวิธีการรักษาที่หลากหลายควบคู่กันไป ซึ่งนั่นหมายถึงจะต้องใช้เวลาและการรักษาที่ต่อเนื่อง เพื่อประสิทธิภาพที่ดีมากยิ่งขึ้นและเพื่อผลลัพธ์ที่ชัดเจน แต่สิ่งสำคัญที่จะต้องทำควบคู่กับการรักษาคือการป้องกันแต่เนิ่นๆ เพื่อลดความเสี่ยง และลดโอกาสในการเกิดฝ้าและเพื่อผิวหน้ากระจ่างใสแม้อยู่ในวัยที่อายุเพิ่มมากขึ้นก็ตาม