‘กระลึก’ ปัญหาหนักใจ สยบได้ด้วยเลเซอร์

หนึ่งในปัญหาผิวที่สร้างความรำคาญใจให้กับใครหลาย ๆ คนก็คือปัญหากระบนใบหน้า ซึ่งถือว่าเป็นปัญหาที่ทำให้ผิวหน้าไม่กระจ่างใสสม่ำเสมอ ที่สำคัญถ้าเป็น กระลึก หากยิ่งปล่อยไวก็จะยิ่งมีสีที่เข้มขึ้นแถมยังกระจายตัวมากขึ้นกว่าเดิมด้วย จนทำให้ผิวดูไม่เนียนใสจนหมดความมั่นใจ วันนี้เราเลยอยากจะพาทุกคนไปทำความเข้าใจกับสาเหตุที่ทำให้เกิดกระรวมไปถึงจำแนกลักษณะของกระแต่ละประเภทพร้อมแนะวิธีรักษากระด้วยวิธีต่างๆ รวมถึงการทำเลเซอร์

กระคืออะไร ?

กระ (Freckle หรือEphelides) เป็นจุดผิวเรียบที่เกิดขึ้นบนผิวหนังของคนเรา โดยทั่วไปมีขนาดเล็ก มีสีเนื้อผิวเข้มกว่าสีของผิวหนังโดยรอบ เช่น มีสีน้ำตาลเข้ม มักพบในบริเวณผิวหนังที่มีการสัมผัสกับแสงแดดอยู่บ่อยๆ โดยเฉพาะบริเวณใบหน้าและส่วนอื่นๆของร่างกาย สามารถเกิดขึ้นได้กับทุกเพศทุกวัย โดยเป็นปัญหาผิวที่เกิดจากเม็ดสีเมลานิน (Melanin) ทำงานผิดปกติจนเกิดจุดสีดำคล้ำขึ้นบนผิวหนังเป็นจุดกลมๆส่งผลให้สีผิวไม่สม่ำเสมอ

ประเภทของกระ

กระบนใบหน้าของมนุษย์สามารถแบ่งออกเป็น 4 ประเภท ได้แก่

  1. กระตื้น (Freckle)

กระตื้น เป็นจุดสีน้ำตาลขนาดเล็ก ที่มักเกิดบริเวณที่แสงแดดสามารถกระทบกับผิวได้โดยง่ายในผิวชั้นบนหรือชั้นหนังกำพร้า(Epidermis) เช่นบริเวณโหนกแก้มและจมูก  บางคนขึ้นกระจายอยู่บริเวณคอ มีลักษณะเป็นจุดที่มีขอบเขตไม่ชัดเจน โดยขนาดของกระจะอยู่ประมาณ 0.5 เซ็นติเมตร มักจะเป็นจุดกระจายทั่วใบหน้า ซึ่งมีสาเหตุมาจากเซลล์เม็ดสีทำงานผิดปกติ หรือพันธุกรรม ทำให้ผิวไวต่อแสง มองเห็นได้ชัดเจนเมื่อผิวสัมผัสกับแสงแดด กระชนิดนี้สามารถรักษาด้วยการใช้ครีมบำรุงและทรีทเมนท์ร่วมกับการทำเลเซอร์

  • กระลึก (Hori’s Nevus)

ลักษณะของกระลึกจะคล้ายกับกระตื้นแต่จะมีสีเข้มกว่าหรือค่อนไปทางเทาดำ  เนื่องจากเกิดในผิวชั้นหนังแท้ (Dermis) ซึ่งเป็นชั้นผิวที่ลึกกว่ากระตื้น  โดยมีลักษณะเป็นทั้งแบบจุดหรือแผ่น แต่ขอบไม่ชัด  พบได้บ่อยในโหนกแก้มทั้งสองข้าง  ซึ่งเกิดจากความผิดปกติของเม็ดสีชั้นใน และจะยิ่งมีสีที่เข้มขึ้นเรื่อยๆ หากได้รับการกระตุ้นจากแสงแดดหรือมีการเปลี่ยนแปลงของระบบฮอร์โมนในร่างกาย มักขึ้นบริเวณโหนกแก้ม ขมับ และจมูก  ซึ่งพบได้บ่อยในคนเอเชีย กระลึกรักษาได้ค่อนข้างยากที่สุด และไม่หายขาด ส่วนวิธีการรักษาที่ได้รับความนิยมและได้ผลที่สุด คือการใช้เลเซอร์เข้าไปทำปฏิกิริยากับเม็ดสีข้างในผิวหนัง ซึ่งต้องทำอย่างต่อเนื่อง หลายครั้ง มีราคาค่อนข้างสูง

  • กระเนื้อ (Seborrheic keratosis)

กระเนื้อ  จะมีลักษณะเป็นก้อนนูนขึ้นมาจากผิวหน้า เริ่มจากเม็ดเล็กๆก่อน  แล้วจะค่อยๆโตขึ้นเรื่อยๆแบบช้าๆ จนมองเห็นได้ชัดเจนขึ้น มีลักษณะที่เป็นทั้งแบบผิวเรียบและผิวขรุขระ มักเกิดขึ้นทั้งในส่วนของใบหน้า คอ และลำตัวในบริเวณหลัง เกิดจากการที่ผิวหนังชั้นหนังกำพร้ามีการเจริญเติบโตที่ผิดปกติ โดยมีปัจจัยกระตุ้นคือแสงแดดและอายุที่เพิ่มมากขึ้น  ยิ่งมีอายุมากขึ้น ก็มีโอกาสในการเกิดกระประเภทนี้มากขึ้นและจะมีจำนวนกระที่เพิ่มมากขึ้นด้วย กระเนื้อถือเป็นประเภทของกระที่ไม่เป็นอันตรายใดๆ และยังไม่มีวิธีการป้องกันให้ได้ผลอย่าง100% แต่ในวิธีการป้องกันเบื้องต้น ให้หลีกเลี่ยงการเผชิญกับแสงแดดโดยตรง เพื่อลดโอกาสในการเกิดกระเนื้อ ส่วนการรักษากระเนื้อในปัจจุบันสามารถทำได้หลายวิธี ไม่ว่าจะเป็นการจี้, การขูดเอาเนื้อเยื่อที่เป็นกระออก และการใช้เลเซอร์ ซึ่งกำลังได้รับความนิยม เนื่องจากสะดวก เห็นผลเร็ว โอกาสที่ผิวจะกลับมาเกลี้ยงเกลามีมากขึ้นและช่วยลดโอกาสเกิดรอยแผลเป็นหลังทำด้วยเช่นกัน

  • กระแดด(Solar lentigines)

กระแดด เป็นลักษณะของกระที่เห็นกรอบได้ชัด  มีทั้งเป็นแบบจุดและแบบที่เป็นปื้นสีน้ำตาล มีขนาดไม่เกิน 1 เซนติเมตร ส่วนใหญ่มักขึ้นในบริเวณที่ถูกสัมผัสกับแสงแดดโดยตรง ไม่ว่าจะเป็น ใบหน้า ลำตัว หรือบริเวณหลังมือ ส่วนใหญ่พบในผู้ที่เริ่มมีอายุมากขึ้น และผู้ที่อยู่กลางแจ้งเป็นเวลานาน มองเห็นได้ชัดเจนในคนที่มีผิวขาว โดยกระแดด สามารถแบ่งย่อยได้อีก 2 ชนิด คือ

  • กระแดด ชนิด Freckle
    เป็นกระที่สามารถพบได้ในเด็กๆด้วย โดยเนื่องมาจากการสืบทอดทางพันธุกรรม โดยกระดด ชนิด Freckle จะมีความเข้มขึ้นตามสภาพแวดล้อม หมายความว่า หากอยู่ในสภาพแวดล้อมที่มีแสงแดดแรงๆ กระก็จะมีความเข้มขึ้นและสามารถมองเห็นได้ชัดเจนขึ้น แต่ถ้าหากอยู่ในสภาพแวดล้อมที่อากาศเย็น มีแดดน้อย กระก็จะอ่อนลง เป็นต้น 
  • กระแดด ชนิด Solar Lentigos 
    ส่วนใหญ่กระแดดประเภทนี้ มักพบในกลุ่มผู้สูงอายุ มีลักษณะกลม ขอบชัด ขนาดใหญ่เล็กไม่เท่ากัน ขึ้นอยู่กับการสะสมมายาวนานเพียงใด กล่าวคือ หากผิวหนังได้สัมผัสกับแสงแดดมายาวนานอย่างต่อเนื่อง ก็จะมีขนาดใหญ่และมองเห็นได้ชัดขึ้น นอกจากพบได้ที่ใบหน้าแล้ว ยังสามารถพบได้บนหน้าอก แขน หลัง หรือผิวบริเวณอื่นได้ด้วย ซึ่งนอกจากรังสี UVA และ UVB จากแสงแดดที่กระตุ้นให้เม็ดสีเมลานินทำงานมากขึ้นจนกลายเป็นกระขึ้นมาแล้ว ยังมีปัจจัยอื่นๆที่ช่วยกระตุ้นให้เกิดกระแดดชนิด Solar Lentigos ขึ้นมาด้วย เช่นแสงจากจอมือถือ เครื่องคอมพิวเตอร์ แท็บเล็ต เป็นต้น

สาเหตุของการเกิดกระ

หากจะสรุปถึงสาเหตุสำคัญที่เป็นปัจจัยกระตุ้นให้เกิดกระบนผิวหน้าและส่วนอื่นๆในร่างกาย สามารถจำแนกได้หลายสาเหตุดังต่อไปนี้

  • รังสี UVA และ UVB จากแสงแดด ซึ่งแสงแดดถือเป็นตัวการสำคัญของการทำลายผิวเลยก็ว่าได้ เพราะนอกจากความหมองคล้ำที่เกิดขึ้นจากการโดนแสงแดดเป็นเวลานานแล้ว แสงแดดยังเป็นตัวที่ไปกระตุ้นให้มีการผลิตเม็ดสีเมลานิน (Melanin pigment)เพิ่มมากขึ้นด้วย ทำให้เกิดเป็นจุดด่างดำบนใบหน้า และทำให้เกิดฝ้ากระได้ด้วยเช่นกัน
  • แสงจากจอมือถือ คอมพิวเตอร์ แสงจากจอทีวี  หรือบลูไลท์ทั้งหลาย ก็สามารถส่งผลให้เกิดปฏิกิริยาในการสร้างเม็ดสีเมลานินใช้ชั้นผิวหนังได้ด้วยเช่นกัน
  • ความเครียด ก็เป็นอีกหนึ่งตัวการสำคัญในการทำร้ายผิว เนื่องจากเมื่อเกิดความเครียก จะทำให้ระบบฮอร์โมนในร่างกายแปรปรวน เกิดความไม่สมดุล กระตุ้นให้เกิดการสร้างเม็ดสีเมลานินขึ้น จนสะสมกันเป็นฝ้า กระ จุดด่างดำได้
  • ไม่ทาครีมกันแดด โดยการทาครีมกันแดดรวมถึงครีมบำรุงผิวอื่นๆ อย่างสม่ำเสมอ นับเป็นการช่วยปกป้องผิว และช่วยฟื้นบำรุงผิวจากภายใน รวมถึงการช่วยปกป้องผิวจากมลพิษ มลภาวะต่างๆ แต่ทั้งนี้ทั้งนั้นควรเลือกใช้ผลิตภัณฑ์ที่ได้มาตรฐานและมีความปลอดภัยสูง เพื่อไม่เป็นการกระตุ้นให้เกิดการสร้างเม็ดสี และไม่ส่งผลให้เกิดปัญหาผิวในระยะยาวด้วย
  • ระบบฮอร์โมนในร่างกาย ฮอร์โมนเพศหญิงที่มีชื่อว่าฮอร์โมนเอสโตรเจน (Estrogen) เป็นอีกหนึ่งสาเหตุสำคัญที่เข้าไปกระตุ้นให้เม็ดสีเมลานินในชั้นใต้ผิวทำงานมากเกินปกติ ซึ่งเป็นหนึ่งสาเหตุที่ทำให้เกิดกระ ซึ่งผู้หญิงจะเกิดกระได้ง่ายกว่าผู้ชาย และในกรณีที่มีการใช้ยาคุมกำเนิดร่วมด้วยก็ยิ่งก่อให้เกิดความเสี่ยงในการเกิดฝ้ากระมากขึ้นด้วย โดยเฉพาะในหญิงตั้งครรภ์จะเกิดกระได้ง่ายกว่าปกติทั่วไป เพราะมีการเปลี่ยนแปลงของระดับฮอร์โมน ที่จะเข้าไปกระตุ้นให้เม็ดสีเมลานินทำงานผิดปกติ เป็นต้น
  • กรรมพันธุ์ เป็นอีกหนึ่งปัจจัยสำคัญที่ทำให้เกิดกระได้โดยง่าย โดยเฉพาะในกลุ่มคนผิวขาวหรือคนในแถบยุโรปก็จะมีแนวโน้มในการเกิดกระได้มากกว่าคนผิวสีปกติหรือผิวคล้ำ
  • การใช้ยาบางชนิด รวมถึงการใช้ผลิตภัณฑ์ที่มีส่วนผสมของสารอันตราย ไม่ว่าจะเป็นสารปรอท(mercury) สารไฮโดรควิโนน(Hydroquinone) สารสเตียรอยด์ (Steroid) รวมถึงกรด เรติโนอิก(Retinoic acid) เป็นต้น

ความแตกต่างของ ฝ้ากับกระ

มีความสับสนอยู่ไม่น้อยของฝ้ากับกระ ที่ถึงแม้จะมีความใกล้เคียงกันบ้าง แต่ปัญหาผิวทั้งสองอย่างนี้มีความต่างกัน ดังนี้

  • กระและ กระลึก (Freckle)
    มีลักษณะเป็นจุดหรือรอยด่างดำที่เกิดขึ้นในบริเวณผิวหน้า มีลักษณะกลมๆ สีน้ำตาล ขนาดเล็ก มีขอบเขตชัดเจน มีลักษณะแบน ทั้งยังมีระยะห่างของจุดต่างๆที่เท่าๆกัน มักเกิดขึ้นบนใบหน้า ลำคอ และแขน
  • ฝ้า (Melasma)
    ส่วนใหญ่ฝ้าจะมีลักษณะเป็นปื้นๆไม่สม่ำเสมอ โดยจะมีเม็ดสีที่ผิดปกติ มักเป็นสีน้ำตาลเข้มกว่าผิวหนังของคนเรา มีทั้งฝ้าชนิดลึกและตื้น มีหลายขนาด ตั้งแต่ขนาดเล็กจนถึงขนาดใหญ่เป็นวงกว้าง มีเกิดบริเวณแก้มและหน้าผาก 

ทำความรู้จักกับ กระลึก

“กระลึก” มีลักษณะทั่วไปเป็นจุดกลมๆสีน้ำตาลเข้มหรือน้ำตาลเทา เกิดจากความผิดปกติของสีผิวที่พบได้บ่อยในกลุ่มคนเอเชีย ขอบเขตไม่ชัดเจน มีขนาด 2-3 มิลลิเมตร พบมากในบริเวณโหนกแก้มและจมูก รวมถึงขมับทั้งสองข้าง และถ้าหากน้ำชิ้นผิวหนังไปตรวจจะพบว่ามีเม็ดสีเป็นจำนวนมากอยู่ในผิวหนังชั้นหนังแท้ ซึ่งเป็นชั้นที่ลึกกว่ากระทั่วไปประเภทอื่นๆ โดยส่วนใหญ่จะพบกระลึกในวัยที่กำลังเข้าสู่วัยรุ่นตอนปลายและในวัยทำงานเสียส่วนใหญ่ ในช่วงอายุ 20-30 ปี  ซึ่งในระยะแรกจะคล้ายกับกระตื้นมาก แต่เมื่อระยะเวลาผ่านไป สีจะกระจะเพิ่มขึ้นเรื่อยๆ และถ้าหากปล่อยเอาไว้โดยไม่ได้รับการดูแลอย่างถูกต้อง จะทำให้เกิดเป็นปื้นใหญ่คล้ายกับฝ้าได้ และในบางรายสามารถพบกระลึก กระตื้นและฝ้าอยู่ร่วมกันในบริเวณเดียวกันได้ด้วย

ถึงแม้ว่า “กระลึก” อาจจะไม่ใช่โรคที่อันตราย และยังไม่มีการศึกษาว่าพบเชื้อมะเร็งของเซลล์สีผิวในระยะยาว แต่จะส่งผลโดยตรงในเรื่องของความสวยงาม และถ้าหากปล่อยเอาไว้โดยขาดความรู้ความเข้าใจในการรักษาในแนวทางที่ถูกต้อง อาจจะขยายวงกว้างออกไปและกลายเป็นฝ้า ยากต่อการรักษาไปกันอีก

วิธีการรักษา กระลึก

เนื่องจากว่ากระลึกเกิดในชั้นผิวที่ลึกกว่ากระตื้นทำให้การรักษากระเป็นไปได้ยากกว่า เพราะกระลึกไม่สามารถรักษาให้หายขาดได้ด้วยการทาครีมบำรุงผิวหรือครีมไวท์เทนนิ่งแบบกระตื้นหรือจุดด่างดำธรรมดา ทางเดียวที่จะรักษากระลึกได้คือต้องทำเลเซอร์เท่านั้น

หลักการของการทำเลเซอร์กระคือการยิ่งพลังงานผ่านแสงเลเซอร์ลงลึกไปเปลี่ยนสภาพเม็ดสีเมลานิน เลเซอร์จะเข้าไปแตกตัวให้เม็ดสีเมลานินกระจายออกจากกัน ซึ่งเม็ดสีเมลานินที่แตกตัวนี้จะถูกเม็ดเลือดขาวทำลายไปตามกลไกธรรมชาติของร่างกาย ทำให้ผิวหนังบริเวณที่เกิดกระลึกค่อย ๆ กระจ่างใสขึ้น

ประเภทของเลเซอร์รักษา กระลึก

กระ

อย่างที่บอกไปว่ากระลึกนั้นไม่สามารถรักษาให้เลือนหายลงได้ด้วยการทาครีมหรือสกินแคร์ เพราะสารบำรุงต่าง ๆ ที่มีอยู่ในผลิตภัณฑ์สกินแคร์ไม่สามารถซึมลึกลงไปจัดการกับกระที่อยู่ลึกได้ ทางเดียวที่จะรักษากระลึกได้คือต้องทำเลเซอร์ผิวเท่านั้น ซึ่งข้อดีของการทำเลเซอร์ก็คือรักษาได้ตรงจุด เห็นผลแทบจะทันทีตั้งแต่ครั้งแรกว่ากระมีการกระจายตัวขนาดเล็กและละเอียดลง ปัจจุบันนี้ก็มีนวัตกรรมเลเซอร์มากมายที่ถูกคิดค้นนำมาใช้รักษากระอยู่หลากหลายชนิด ดังนี้

1. IPL
เชื่อว่าหลาย ๆ คนคงคุ้นเคยกับเลเซอร์ประเภทนี้กันดี เพราะถือว่าเป็นเลเซอร์ที่นิยมใช้กับมากในคลินิกและสถานเสริมความงาม เรียกได้ว่าเป็นเลเซอร์พื้นฐานที่คลินิกทุกที่ต้องมี เนื่องจากเลเซอร์ IPL สามารถใช้แก้ปัญหาจุดบนพร่องของผิวได้หลากหลายทั้งลดเลือนกระ ฝ้า จุดด่างดำ และความหมองคล้ำ กระตุ้นให้ผิวกระจ่างใสขึ้นอย่างเป็นธรรมชาติ นอกจากนั้นยังสามารถใช้กำจัดขนตามส่วนต่าง ๆ ในร่างกายได้อีกด้วย

หลักการของเลเซอร์ IPL หรือ Intense Pulsed Light คือการปลดปล่อยพลังงานความยาวคลื่นตั้งแต่ 515-1,200 นาโนเมตร โดยจะเข้าไปกระตุ้นให้เกิดการผลัดเซลล์ผิวเก่าและความหมองคล้ำรวมไปถึงกระให้ค่อย ๆ หลุดออก เพื่อกระตุ้นให้เกิดการสร้างเซลล์ผิวใหม่ที่กระจ่างใสและสุขภาพดีกว่าเดิม

2. คาร์บอนไดออกไซด์เลเซอร์
เลเซอร์ชนิดนี้ทำงานด้วยการใช้ก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ (CO2) มาเป็นตัวกลางทำให้เกิดแสงเลเซอร์ที่มีความยาวคลื่น10,600 นาโนเมตร ซึ่งเข้าไปดูดน้ำออกจากเนื้อเยื้อผิวทำให้ผิวบริเวณนั้นตายโดยไม่ทำให้เลือดออกจึงไม่ทำให้เกิดแผลและรอยแสบหลักทำเลเซอร์ หลังจากทำเลเซอร์เสร็จเซลล์ผิวที่เสื่อมสภาพก็จะค่อย ๆ ผลัดออกไปเผยเซลล์ผิวใหม่ที่กระจ่างใสขึ้นกว่าเดิม

คาร์บอนไดออกไซด์เลเซอร์นั้นมีความละเอียดและแม่นยำสูงตรงเข้าทำลายเนื้อเยื้อผิวได้เฉพาะจุดจึงไม่ทำลายผิวหนังที่อยู่รอบข้างจึงถูกนำไปใช้ในการกำจัดจุดบกพร่องเฉพาะจุดอย่างไฝ ขี้แมลงวัน กระเนื้อ หูด รวมไปถึงติ่งเนื้องอกต่าง ๆ ได้อีกด้วย

3. Q-switched (ND-YAG)
เลเซอร์ชนิดนี้เป็นเลเซอร์ที่ปลดปล่อยพลังงานคลื่นแสงออกมาสูงกว่าพลังงานแสงของเลเซอร์ IPL ถึง 8 เท่า ตรงเข้าไปยิ่งบริเวณที่เกิดกระลึกให้เม็ดสีเมลานินให้กระจายตัวออกเป็นอนุภาคเล็ก ๆ จนถูกเม็ดเลือดขาวทำลาย กระลึกจึงค่อย ๆ จางและหายไปในที่สุด

เลเซอร์ชนิด Q-switched มีความยาวคลื่น 2 ระดับ คือ ความยาวคลื่น 532 นาโนเมตรและความยาวคลื่น 1,064 นาโนเมตร โดยชนิดที่เหมาะกับการรักษาฝ้าลึกนิยมใช้ที่ความยาวคลื่น 1,064 นาโนเมตร ซึ่งสามารถรักษากระลึกได้ทั้งในแบบที่ตกสะเก็ดและไม่ตกสะเก็ด ทั้งนี้ก็ขึ้นอยู่กับการวางแผนรักษาของแพทย์และสภาพผิวของคนไข้ผู้ใช้บริการ

4. Picosecond
พิโคเซเคิลเลเซอร์ หรือ พิโคเลเซอร์ เป็นนวัตกรรมเลเซอร์ที่ปลดปล่อยพลังงานแสงในช่วงคลื่นที่สูงออกมาในเวลาอันสั้น เรียกได้ว่าสั้นมากระดับวินาทีเลยทีเดียวจึงช่วยให้เม็ดสีเมลานินแตกตัวอย่างละเอียดในเวลาที่สั้นพร้อมกับช่วยกระตุ้นการทำงานของคอลลาเจนใต้ชั้นผิวจึงใช้เวลาในการทำเลเซอร์น้อย โอกาสที่จะเกิดแผลจากการถูกความร้อนทำลายผิวจึงน้อยตาม ส่งผลให้ผลข้างเคียงหลังทำเลเซอร์น้อยหรือแทบไม่มีเลยในบางราย และด้วยความที่ปลดปล่อยพลังงานแสงในช่วงคลื่นที่สูงออกมาในเวลารวดเร็วจึงทำให้เจ็บน้อย เม็ดสีเมลานินแตกละเอียดกระลึกจะค่อย ๆ จางลง พร้อมทั้งยังช่วยกระตุ้นให้ผิวสร้างคอลลาเจนช่วยให้ผิวเต่งตึงยกกระชับขึ้นได้

5. Dual yellow Laser
เลเซอร์ชนิดนี้จะปลดปล่อยพลังงาน FEM หรือ Fast Edge Micro Pulses โดยมีสารโบรไมด์ (Bromide) และแร่ธาตุทองแดง (Copper) เป็นตัวกลาง สามารถปลดปล่อยพลังงานได้มาก 22,000 ครั้งต่อวินาที โดยเลเซอร์ชนิดนี้จะผสมผสานระหว่างความยาวคลื่น 2 ประเภท ได้แก่ คลื่นสีเหลืองที่มีความยาว 578 นาโนเมตร และคลื่นสีเขียวที่มีความยาว 511 นาโนเมตร

คลื่นสีเหลืองจะตรงเข้าสู่ใต้ผิวเข้าจัดการกับเม็ดสีเมลานินโดยตรง ไม่ทำให้ผิวชั้นบนเสียหาย ไม่ทำให้เกิดรอยช้ำ ส่วนคลื่นสีเขียวจะมีผลต่อผิวหนังชั้นแรกไม่ทำให้ผิวด้านล่างเสียหาย โดยเลเซอร์ทั้งสองจะทำงานประสานกันช่วยตัดเส้นเลือดฝนที่ไปเลี้ยงเม็ดสีผิว ทำให้เม็ดสีผิวค่อย ๆ จางหายไป กระ ฝ้า รวมไปถึงจุดด่างดำบนใบหน้าจึงจางลง

เลือกทำเลเซอร์แบบไหนดีที่สุด?

การทำเลเซอร์รักษากระลึกเป็นหัตถการที่ต้องอยู่ในความดูแลของแพทย์ผู้เชี่ยวชาญผิวหนังเท่านั้น ซึ่งแพทย์จะเป็นผู้พิจารณาปัญหากระที่เกิดขึ้นเฉพาะบุคคล ประเมินและวางแผนการรักษากระลึกแบบ case by case ขึ้นอยู่กับความหนาเข้มและปริมาณของกระว่าควรจะรักษาด้วยเลเซอร์ชนิดไหนจึงจะตอบโจทย์และให้ผลลัพธ์ที่น่าพึงพอใจที่สุด แต่อย่างไรก็ตามการทำเลเซอร์รักษากระลึกนั้นไม่ว่าจะใช้เลเซอร์ชนิดไหนก็ไม่ได้ทำให้กระหายขาด 100% ตั้งแต่ครั้งแรก ต้องอาศัยระยะเวลาและการทำซ้ำซึ่งอย่างน้อยก็ต้อง 4-6 ครั้งขึ้นไป โดยทำห่างกันทุก ๆ 2 สัปดาห์ก็จะยิ่งเห็นผลลัพธ์ที่น่าพอใจ กระลึกจะค่อย ๆ จากลงเผยให้เห็นผิวที่เรียบเนียนและกระจ่างใสขึ้น

ขั้นตอนการยิงเลเซอร์รักษากระ

ในขั้นตอนการยิงเลเซอร์เพื่อรักษากระนั้น มีขั้นตอนและข้อควรปฏิบัติดังต่อไปนี้

  • ล้างหน้าให้สะอาด แล้วเช็ดหน้าให้แห้ง เพื่อเตรียมผิวให้พร้อมสำหรับการยิงเลเซอร์
  • ทายาชาบริเวณผิวหน้า ทิ้งไว้ประมาณ 45 นาที เพื่อไม่ให้รู้สึกเจ็บปวดในขณะที่ยิงเลเซอร์
  • แพทย์ผู้เชี่ยวชาญจะเป็นผู้ที่ยิงเลเซอร์ไปยังจุดต่างๆที่มีกระ

ข้อควรรู้ในการใช้เลเซอร์เพื่อรักษากระ

หลังจากรักษากระด้วยการใช้เลเซอร์แล้ว  บริเวณที่ทำการรักษาจะมีแผลตกสะเก็ดขาวๆเล็กๆ (ในกรณีของการยิงเลเซอร์กระลึก อาจมีหรือไม่มีสะเก็ดก็ได้) ซึ่งจะหลุดออกไปเองตามธรรมชาติในระยะเวลาประมาณ 7 วัน ในระยะเวลานี้ไม่ควรแกะ เกาหรือแคะเพื่อให้สะเก็ดหลุดเร็วขึ้น ควรปล่อยให้เป็นไปตามธรรมชาติ เพื่อจะได้ลดความเสี่ยงในการเกิดแผลเป็นตามมาได้  จากนั้นสีของแผลที่ตกสะเก็ดก็จะค่อยๆจางหายไป แต่ในบางราย ในระยะแรกๆสีผิวอาจจะมีความเข้มขึ้น แต่หลังจากนั้นจะค่อยๆจางลง

ข้อปฏิบัติตัวหลังทำเลเซอร์

หลังจากทำเลเซอร์ผิวหน้าของเราจะบอบบางมาก อีกทั้งผิวจะแห้งกร้านเพราะสูญเสียน้ำจากควาร้อนของแสงเลเซอร์ เราจึงควรใส่ใจดูแลผิวหลังทำเลเซอร์อย่างเป็นพิเศษ ซึ่งก็มีข้อปฏิบัติ ดังนี้

1. อย่าให้ผิวสัมผัสน้ำอย่างน้อยใน 24 ชั่วโมงแรกหลังทำเลเซอร์

2. ห้ามสัมผัส ถู หรือแกะเกาแผลจากการเลเซอร์

3. ทาขี้ผึ้งหรือมอยส์เจอร์ไรเซอร์เพิ่มความชุ่มชื้น

4. งดใช้ผลิตภัณฑ์ที่มี AHA หรือที่มีสารวิตามินเอ และวิตามินซี ซึ่งมีฤทธิ์เป็นกรดอ่อน ๆ เพราะอาจจะทำให้แสบผิวได้ ทั้งนี้ควรปรึกษาแพทย์ด้วยการนำผลิตภัณฑ์ที่ใช้อยู่ไปให้แพทย์ดูในวันทำเลเซอร์

5. หลีกเลี่ยงการออกแดดในช่วง 1-2 สัปดาห์แรกหลังจากทำเลเซอร์

6. ทาครีมกันแดดอยู่เป็นประจำแม้อยู่ในบ้าน เพราะผิวหลังทำเลเซอร์จะไวต่อแสงมาก หากโดนแสงแดดอาจจะทำให้เกิดกระขึ้นมาได้อีก

ผลเสียจากการรักษา กระลึก ไม่ถูกวิธี

ในปัจจุบัน มีผู้ให้ความสนใจในการรักษากระลึกเป็นจำนวนมาก และมีจำนวนไม่น้อย ที่มีการรักษาอย่างไม่ถูกวิธี ซึ่งได้ส่งผลเสียหายต่อสภาพผิวเป็นอย่างมาก โดยมีสาเหตุเริ่มต้นมาจากการวินิจฉัยผิว จึงทำให้การรักษาผิดไปด้วย เช่น ในบางราย มีการใช้ยาทา ใช้น้ำยาแต้ม การทำทรีทเม้นต์ หรือการใช้แสงที่มีความเข้มสูงในการักษา ซึ่งวิธีการเหล่านี้ไม่สามารถทำให้เม็ดสีที่อยู่ในชั้นผิวหนังที่ลึกลงไปแตกตัวได้ ทำให้ไม่เห็นผลในการรักษาที่ชัดเจน และที่มากไปกว่านั้น วิธีการรักษาข้างต้นอาจส่งผลข้างเคียงต่อสภาพผิวหน้า เช่น ทำให้ผิวหนังชั้นบนไหม้จนเป็นรอยดำซ้ำซ้อนได้ ทำให้ยากต่อการรักษามากขึ้นไปอีก ดังนั้น เพื่อความปลอดภัย จึงจำเป็นต้องปรึกษาแพทย์ผู้เชี่ยวชาญ เพื่อทำการวินิจฉัย ประเมินสภาพผิวหน้า และรักษาได้อย่างตรงจุดด้วยวิธีการที่เหมาะสม

เผยเคล็ดลับ ป้องกันกระลึก

ก่อนอื่น จำเป็นที่เราจะต้องทราบถึงสาเหตุหรือที่มาของกระบนใบหน้าของเรา รวมถึงประเภทของกระที่เกิดขึ้น เพื่อนำไปสู่การรักษาและการป้องกันอย่างถูกวิธี เนื่องจากกระลึก มักเริ่มต้นมาจากกระที่เกิดขึ้นในระดับเล็กๆและถ้าหากไม่ได้รับการดูแลหรือรักษาอย่างถูกต้อง อาจลุกลามนำไปสู่กระที่มีระดับความรุนแรงขึ้นและแผ่วงกว้างได้มากขึ้นด้วย ดังนั้น เพื่อป้องกันการเกิดกระก่อนวัยอันควร ควรมีการป้องกันดังต่อไปนี้

  • หลีกเลี่ยงแสงแดด
    เรียกได้ว่าแสงแดดเป็นปัจจัยหลักที่ทำให้เกิดฝ้า กระ จุดด่างดำบนใบหน้าเลยก็ว่าได้ ดังนั้นควรหลีกเลี่ยงการสัมผัสกับแสงแดดโดยตรงเป็นเวลานานๆ หรือถ้าหากมีความจำเป็น ควรมีการสวมหมวก กางร่ม หรือใส่เสื้อผ้าที่สามารถป้องกันรังสียูวีได้ ก็จะช่วยป้องกันได้อีกทาง
  • ทาครีมกันแดดเป็นประจำ
    การทาครีมกันแดดถือเป็นเรื่องที่มีความสำคัญและจำเป็นมาก และควรทาต่อเนื่องเป็นประจำทุกวัน เพื่อป้องกันรังสียูวีในแสงแดด โดยให้เลือกครีมกันแดดที่มีค่า PA+++ ขึ้นไป และแนะนำให้ทาซ้ำทุก 2 ชั่วโมง โดยใช้ผลิตภัณฑ์กันแดดของ mesoprotech melan 130 pigment control by mesoestetic มาตรฐานผลิตภัณฑ์เพื่อการดูแลผิวพรรณอย่างมีประสิทธิภาพจากประเทศสเปน ที่มีค่าการปกป้องผิว SPF 50+ โดยสามารถปกป้องผิวจากรังสียูวีเอและยูวีบี พร้อมทั้งช่วยลดเลือน และป้องกันการเกิดจุดด่างดํา ความหมองคลํ้าของผิว ทั้งเนื้อกันแดดยังเป็นสีเบจ ช่วยปกปิดจุดด่างดํา และรอยหมองคลํ้าได้อย่างเป็นธรรมชาติ  โดยมีเนื้อสัมผัสที่บางเบา ช่วยให้ผลิตภัณฑ์เกลี่ยง่าย ไม่เหนียวเหนอะหนะ เหมาะกับทุกสภาพผิว โดยมีส่วนประกอบสำคัญ ทั้งยังได้ผสมผสานเทคโนโลยีทางด้านความงาม โดยลิขสิทธิ์พิเศษของ mesoestetic เท่านั้น ดังต่อไปนี้
  • mesoprotech complex: ช่วยปกป้องผิวจากรังสี UVA และ UVB นอกจากนี้ยังมีสารแอนติออกซิแดนท์ที่ช่วยปกป้องผิวจากอนุมูลอิสระ ในรังสีอินฟราเรด และแสงสีฟ้าจากคอมพิวเตอร์ มือถือที่มากระทบผิว ได้อีกด้วย
  • Azeloglicina ( Azelaic acid): ช่วยป้องกันรอยหมองคลํ้าหรือจุดด่างดํา ที่มีสาเหตุมาจากแสงแดด
  •  Sunflower seed oil (NMF): ช่วยรักษาความชุ่มชื้นผิวตามธรรมชาติ คืนความสมดุลให้แก่ผิว
  • ใช้ครีมบำรุงผิวที่ช่วยลดฝ้า กระ จุดด่างดำ
    เพื่อช่วยเสริมประสิทธิภาพในการดูแลผิวหน้าได้มากขึ้น และเพื่อป้องกันฝ้า กระ จุดด่างดำ ความหมองคล้ำของผิวที่เกิดจากแสงแดด ควรมีการใช้ครีมเพื่อการฟื้นบำรุงผิวอย่างแท้จริง โดยเลือกครีมที่มีความปลอดภัย ไม่มีสารที่เป็นอันตรายต่อผิว และควรอยู่ภายใต้การดูแลและควบคุมของแพทย์หรือผู้เชี่ยวชาญเฉพาะทาง

ทั้งหมดนี้คือสาระดี ๆ เกี่ยวกับกระลึกที่เรานำมาฝากกัน ใครที่กำลังประสบกับปัญหากระลึกกันอยู่จะได้รู้แนวทางรักษาที่ถูกต้อง เพราะลำพังแค่การทาครีมบำรุงไม่อาจจะสยบกระลึกให้หายขาดได้ การทำเลเซอร์จึงเป็นคำตอบสุดท้าย แต่จะต้องเลือกคลินิกที่น่าเชื่อถือและมีแพทย์ผู้เชี่ยวชาญเป็นผู้ทำหัตถการ เพียงเท่านี้คุณก็จะบอกลากระลึกได้อย่างปลอดภัยและมั่นใจในผิวพรรณที่สวยใสไม่มีฝ้ากระมากวนใจแน่นอน