สิวฮอร์โมน ปัญหาผิวที่หลายคนต้องเผชิญ โดยเฉพาะในช่วงวัยรุ่น หรือช่วงที่ฮอร์โมนในร่างกายมีการเปลี่ยนแปลง ส่งผลให้เกิดสิวอักเสบ สิวอุดตัน หรือสิวเม็ดใหญ่ที่มักขึ้นในจุดเดิมซ้ำ ๆ นอกจากทำให้ผิวหน้าหมองคล้ำและขาดความมั่นใจแล้ว หากดูแลไม่ถูกวิธีอาจทิ้งรอยแผลเป็นหรือรอยดำได้ บทความนี้จะพาคุณไปรู้จักสาเหตุของสิวฮอร์โมน วิธีดูแลรักษาอย่างถูกต้อง และเคล็ดลับการดูแลผิวให้กลับมาใสเนียนอย่างเป็นธรรมชาติ พร้อมคำแนะนำที่เข้าใจง่ายและใช้ได้จริง
สิวฮอร์โมน คืออะไร ?
สิวฮอร์โมน (Hormonal Acne) เป็นสิวชนิดหนึ่ง ที่เกิดจากความไม่สมดุลของฮอร์โมนในร่างกาย มักพบได้บ่อยในวัยรุ่นและผู้ใหญ่ โดยเฉพาะช่วงที่ร่างกายมีการเปลี่ยนแปลงของระดับฮอร์โมน เช่น ช่วงมีประจำเดือน , มีการตั้งครรภ์ หรือภาวะที่ฮอร์โมนแอนโดรเจน (Androgen) สูงกว่าปกติ ซึ่งฮอร์โมนนี้จะกระตุ้นให้ต่อมไขมันผลิตน้ำมันออกมามากเกินไป ส่งผลให้รูขุมขนอุดตัน และเกิดสิวตามมา
สิวฮอร์โมน มีลักษณะอย่างไร ?
สิวฮอร์โมนสามารถเกิดขึ้นได้หลายลักษณะ และมักจะเกิดซ้ำที่บริเวณเดิม ๆ รวมถึงเวลาที่มีสิ่งเร้า เช่น ช่วงที่มีความเครียดสูง หรือใช้ยาคุมกำเนิด ซึ่งจะส่งผลให้เกิดภาวะฮอร์โมนไม่สมดุล จนทำให้เกิดสิวขึ้นมาได้ สิวฮอร์โมนแบ่งออกเป็น 2 ประเภทใหญ่ๆ ดังนี้
สิวอุดตัน(Comedones)
- สิวอุดตันหัวเปิด(Open Comedone) หรือ สิวหัวดำ (Blackheads)
เป็นสิวอุดตันที่มีขนาดเล็ก ตรงกลางมีจุดสีดำหรือสีเข้ม เนื่องจากเส้นใยโปรตีนที่ร่างกายสร้างขึ้นมาและลิพิด(Lipid) ได้ทำปฏิกิริยาออกซิเดชั่น(Oxidation)กับออกซิเจนหรืออากาศภายนอกนั่นเอง - สิวอุดตันหัวปิด (Closed Comedone) หรือ สิวหัวขาว (Whiteheads)
เป็นสิวอุดตันขนาดเล็ก ที่นูนออกมาจากผิวหนังเล็กน้อย บริเวณหัวสิวมีสีขาว
สิวอักเสบ (Inflammatory acne)
- สิวตุ่มนูนแดง (Papule)
เป็นสิวที่มีสีแดง ทรงกลม ไม่มีหนอง ขนาดเล็กไม่เกิน 5 เซนติเมตร เมื่อสัมผัสจะรู้สึกเจ็บ - สิวหัวหนอง (Pustule)
มีลักษณะเป็นตุ่มนูนสีแดง ตรงกลางมีหนองสีขาวเหลืองอยู่ข้างใน - สิวตุ่มแดงขนาดใหญ่ (Nodule)
เป็นสิวที่มีการอักเสบในระดับที่รุนแรง มีขนาดใหญ่ แข็งเป็นก้อน ไม่มีหัวสิวอยู่ข้างใน ไม่มีหนอง
สิวฮอร์โมน เกิดจากอะไร ?
สิวฮอร์โมน สามารถเกิดขึ้นได้จากหลายสาเหตุ ทั้งจากปัจจัยภายในและปัจจัยภายนอก ดังต่อไปนี้
สาเหตุจากปัจจัยภายใน
สิวฮอร์โมน ที่เกิดจากปัจจัยภายใน ได้แก่
- การเปลี่ยนแปลงของระบบฮอร์โมน
โดยเฉพาะฮอร์โมนเทสโทสเตอโรน(Testosterone)ที่สูงเกินไป จะไปกระตุ้นให้ต่อมไขมันผลิตน้ำมันมากขึ้น ทำให้ผิวเกิดการอุดตันได้ง่ายขึ้น - พันธุกรรม
สิวสามารถส่งต่อทางพันธุกรรมได้ หากมีญาติหรือคนในครอบครัวที่เป็นสิวได้ง่าย โอกาสที่จะเป็นสิวฮอร์โมนก็มากเช่นกัน
สาเหตุจากปัจจัยภายนอก
ปัจจัยภายนอก ที่ทำให้เกิดสิวฮอร์โมน ได้แก่
- ภาวะความเครียด
ความเครียดมักส่งผลต่อระดับฮอร์โมน และการทำงานของอวัยวะภายในร่างกาย และยังส่งผลให้ปริมาณของสิวฮอร์โมนเพิ่มมากขึ้นด้วย - สภาวะแวดล้อม
ฝุ่น ควัน มลพิษในอากาศ ล้วนเป็นสิ่งที่กระตุ้นให้เกิดสิวฮอร์โมนได้ทั้งสิ้น - ปัจจัยกระตุ้นอื่นๆ
ไม่ว่าจะเป็นพฤติกรรมการรับประทานอาหารที่มีไขมันสูง และการดูแลรักษาความสะอาดผิวหน้า ด้วยผลิตภัณฑ์ทำความสะอาดผิว เป็นต้น
สิวฮอร์โมนรักษาได้อย่างไรบ้าง ?
การรักษาสิวฮอร์โมนจึงต้องอาศัยวิธีที่เหมาะสมและสม่ำเสมอ เพื่อให้เห็นผลลัพธ์ที่ชัดเจนและยั่งยืน ซึ่งโดยทั่วไป มีวิธีการรักษา ดังต่อไปนี้
การรักษาด้วยยา
ทั้งยาคุมกำเนิด (Oral Contraceptives) ที่ช่วยปรับสมดุลฮอร์โมนเพศหญิง ลดการผลิตน้ำมันส่วนเกิน ทำให้สิวลดลง , ยาปฏิชีวนะ (Antibiotics) ช่วยลดการอักเสบของสิวและฆ่าเชื้อแบคทีเรียที่เป็นสาเหตุของสิว และยากลุ่ม Anti-Androgen ช่วยลดระดับฮอร์โมนแอนโดรเจน ที่เป็นตัวกระตุ้นการผลิตน้ำมันและสิว
การรักษาด้วยเวชสำอางและสกินแคร์
โดยใช้ผลิตภัณฑ์ที่มีส่วนผสมของกรดซาลิไซลิก (Salicylic Acid) ที่ช่วยลดการอุดตันของรูขุมขนและผลัดเซลล์ผิว , ผลิตภัณฑ์ที่มี Benzoyl Peroxide ช่วยลดเชื้อแบคทีเรียที่ทำให้เกิดสิว และครีมลดการอักเสบและรอยแดง ช่วยปลอบประโลมผิว ทำให้ผิวได้รับการฟื้นฟูเร็วขึ้น
การรักษาด้วยเทคโนโลยีทางการแพทย์
ไม่ว่าจะเป็น เลเซอร์รักษาสิว ที่ช่วยลดการอักเสบและรอยดำจากสิว พร้อมทั้งลดการผลิตน้ำมันของต่อมไขมัน , การทำทรีตเมนต์หน้าด้วยคลื่นความถี่วิทยุ (RF) ช่วยกระชับรูขุมขนและลดการผลิตน้ำมันส่วนเกิน และการทำ Iontophoresis หรือ Sonophoresis ช่วยผลักยารักษาสิวเข้าสู่ผิวชั้นลึก เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพในการรักษา
วิธีป้องกัน สิวฮอร์โมน
การป้องกันสิวฮอร์โมน เป็นเรื่องสำคัญ ที่ช่วยให้ผิวแข็งแรงและเรียบเนียน มีวิธีที่คุณสามารถทำได้ด้วยตัวเอง ดังนี้
- รักษาความสะอาดผิวหน้าอย่างสม่ำเสมอ
การล้างหน้าให้สะอาด เป็นขั้นตอนพื้นฐานที่ช่วยลดสิ่งสกปรก น้ำมันส่วนเกิน และเครื่องสำอางที่อาจอุดตันรูขุมขนได้ ควรเลือกใช้ผลิตภัณฑ์ล้างหน้าที่เหมาะกับสภาพผิว อ่อนโยน และไม่มีส่วนผสมของแอลกอฮอล์ เพื่อไม่ทำให้ผิวเกิดการระคายเคือง - หลีกเลี่ยงการสัมผัสใบหน้าโดยไม่จำเป็น
เนื่องจากมือของเรามักสัมผัสสิ่งต่าง ๆ ตลอดวัน ทำให้มีเชื้อโรคและสิ่งสกปรกสะสม การสัมผัสใบหน้าโดยไม่ล้างมือก่อน อาจทำให้สิ่งเหล่านี้เข้าสู่ผิวหนัง และกระตุ้นการเกิดสิวฮอร์โมนได้ - เลือกใช้ผลิตภัณฑ์บำรุงผิวที่ไม่ก่อให้เกิดการอุดตัน
การเลือกใช้ครีมบำรุงหรือเครื่องสำอางที่ระบุว่า “Non-comedogenic” หรือ “ปราศจากน้ำมัน” จะช่วยลดความเสี่ยงในการอุดตันรูขุมขน ซึ่งเป็นสาเหตุหลักของการเกิดสิวฮอร์โมน - ควบคุมความมันบนใบหน้า
สำหรับคนที่มีผิวมัน ควรใช้ผลิตภัณฑ์ควบคุมความมัน เช่น โทนเนอร์หรือเซรั่ม ที่มีส่วนผสมของ Salicylic Acid หรือ Niacinamide ซึ่งช่วยลดการผลิตน้ำมัน และลดการอักเสบของผิวได้ดี - รับประทานอาหารที่มีประโยชน์
การรับประทานอาหารที่มีวิตามิน และแร่ธาตุที่ช่วยบำรุงผิว เช่น วิตามิน A, C, E, และ Zinc จะช่วยเสริมสร้างสุขภาพผิวให้แข็งแรง หลีกเลี่ยงอาหารที่มีน้ำตาลและไขมันสูง เพราะอาจกระตุ้นการผลิตน้ำมันส่วนเกิน และทำให้เกิดสิวฮอร์โมนได้ - นอนหลับพักผ่อนให้เพียงพอ
การพักผ่อนที่ไม่เพียงพอ ทำให้ฮอร์โมนในร่างกายแปรปรวน ส่งผลให้ผิวผลิตน้ำมันมากขึ้น และเกิดสิวฮอร์โมนได้ง่ายขึ้น ดังนั้น ควรนอนหลับอย่างน้อย 7-8 ชั่วโมงต่อวัน เพื่อให้ร่างกายได้ซ่อมแซมและฟื้นฟูสภาพผิว - จัดการความเครียด
ความเครียดเป็นอีกหนึ่งปัจจัยสำคัญ ที่ทำให้ฮอร์โมนไม่สมดุล การทำกิจกรรมที่ช่วยผ่อนคลาย เช่น การออกกำลังกาย โยคะ หรือการทำสมาธิ จะช่วยลดระดับความเครียด และป้องกันการเกิดสิวฮอร์โมนได้
เผยเคล็ดลับผิวใสด้วย Acnelan ทางออกของคนเป็น สิวฮอร์โมน
acnelan โดย mesoestetic ถูกคิดค้นขึ้นมา เพื่อตอบโจทย์ในทุกปัญหาสิว ทั้งสิวเรื้อรัง สิวอักเสบ สิวอุดตัน หรือสิวฮอร์โมน มีคุณสมับติช่วยทำความสะอาดไขมัน และสิ่งสกปรกที่อุดตันอยู่ภายในรูขุมขนอย่างอ่อนโยน โดยไม่ทำอันตรายต่อผิว โดยมีผลิตภัณฑ์ที่ใช้ทำทรีตเม้นต์ในคลินิก และที่คุณสามารถทำได้เองที่บ้าน ดังนี้
ผลิตภัณฑ์ acnelan ที่ใช้ทำทรีตเม้นต์ในคลินิก ได้แก่
- เจลมาส์กสูตรเข้มข้นอย่าง acnelan multifactor mask acnelan pack มีประสิทธิภาพช่วยทำความสะอาดผิวได้อย่างล้ำลึก ไม่ก่อให้เกิดการอุดตันของรูขุมขน
- post-peel neutralizing spray acnelan pack ช่วยปรับสภาพผิวให้อยู่ในสภาวะสมดุล ด้วยค่า pH 8.6
- pore sealing shield สารบำรุงผิวสูตรเข้มข้น ช่วยปลอบประโลมผิว ทำให้รูขุมขนกระชับมากขึ้น
- ผลิตภัณฑ์ acnelan ที่ใช้ทำทรีตเม้นต์ในคลินิก ได้แก่
ผลิตภัณฑ์ acnelan ที่คุณสามารถฟื้นฟูสภาพผิวด้วยตัวเองที่บ้าน ได้แก่
- purifying mousse เป็นผลิตภัณฑ์ทำความสะอาดผิวหน้าเนื้อมูส สำหรับผิวมันและผิวที่มีแนวโน้มเป็นสิวง่าย โดยช่วยขจัดความมันส่วนเกิน และสิ่งสกปรกต่าง ๆ บนใบหน้า ซึ่งเป็นสาเหตุของการเกิดสิว
- acne one ช่วยขจัดส่วนเกินบนใบหน้า ลดการอุดตันบริเวณรูขุมขน
- imperfection control เป็นผลิตภัณฑ์ที่ช่วยฟื้นบำรุงเฉพาะจุด เหมาะสำหรับผิวมันและผิวเป็นสิวง่าย พร้อมทั้งช่วยปกปิดรอยสิว รอยแดง รอยดำจากสิวได้ด้วย
- pure renewing mask มาส์กหน้าสูตรสำหรับผิวเป็นสิว ช่วยขจัดความมันส่วนเกินบนผิวหน้า ทำให้เซลล์ผิวที่เสื่อมสภาพหลุดออกมา ลดการอุดตัน และการสะสมของสิ่งสกปรกบริเวณรูขุมขน
- hydra-vital light เป็นเจลครีมเนื้อบางที่ให้ความชุ่มชื้น และช่วยฟื้นบำรุงผิว
- hydra-vital factor k ครีมบำรุงผิวที่ให้ความชุ่มชื้นเป็นพิเศษ ช่วยคืนความชุ่มชื้นให้แก่ผิวอย่างล้ำลึก และทำหน้าที่เป็นโครงสร้างเกราะปกป้องผิวจากมลภาวะและสิ่งแวดล้อมภายนอกได้ดี
- melan recovery บาล์มบำรุงผิวสูตรเข้มข้น ช่วยปลอบประโลมผิว และฟื้นบำรุงผิวอย่างล้ำลึก หลังการทำทรีทเม้นท์
- Fast skin repair เป็นผลิตภัณฑ์บำรุงผิว ที่ช่วยปลอบประโลมผิวอย่างอ่อนโยน เป็นเกราะปกป้องผิวให้แข็งแรง โดยไม่ก่อให้เกิดการระคายเคือง
ข้อแตกต่างระหว่างสิวทั่วไปกับ สิวฮอร์โมน
เนื่องจากสิวฮอร์โมนมีลักษณะที่คล้ายคลึงกับสิวทั่วๆไป แต่มักจะเกิดในระยะเวลาเดิมๆซ้ำๆเป็นประจำ เช่น สิวประจำเดือน มักขึ้นก่อนหรือหลังเป็นประจำเดือน หรือในช่วงที่มีภาวะความเครียดสะสม ทำให้ระบบฮอร์โมนในร่างกายแปรปรวน ก็ทำให้เกิดสิวขึ้นได้ และแม้ว่าสิวทั้งสองประเภทนี้จะมีความคล้ายคลึงกัน แต่สามารถแยกลักษณะที่แตกต่างกันได้ดังนี้
สิวทั่วไป | สิวฮอร์โมน | |
สาเหตุของสิว | ส่วนใหญ่เกิดจากปัจจัยภายนอกที่กระตุ้นทำให้เกิดสิว เช่นอาหาร ,ความมันส่วนเกิน,มลภาวะ รวมถึงการใช้ผลิตภัณฑ์สำหรับหน้าที่ไม่ได้มาตรฐาน มีสารอันตรายต้องห้ามเจือปน เป็นต้น | เกิดจากระบบฮอร์โมนภายในที่ไม่สมดุล โดยมีปัจจัยอื่นๆที่เป็นตัวกระตุ้น เช่นความเครียด,การบริโภคอาหาร,การตั้งครรภ์,การเป็นประจำเดือน,พักผ่อนไม่เพียงพอ หรือมีภาวะถุงน้ำในรังไข่ (PCOS) เป็นต้น |
ลักษณะของสิว | สามารถเกิดขึ้นได้ทุกจุด ทั้งใบหน้า ลำคอและลำตัว | มักเกิดขึ้นซ้ำๆ ในช่วงเวลาเดิม เช่นในช่วงที่เป็นประจำเดือนของผู้หญิง หรือผู้ชายมักจะเกิดในช่วงที่เป็นวัยรุ่น โดยมักจะขึ้นบริเวณรอบริมฝีปาก คาง แนวสันกรามและลำคอ |
วิธีการดูแลรักษา | หมั่นทำความสะอาดผิวให้สะอาด เพื่อขจัดความมันส่วนเกินและสิ่งสกปรกออกจากผิวหน้า รวมถึงการใช้สกินแคร์ที่เหมาะกับสภาพผิว | พักผ่อนให้เพียงพอ เลี่ยงความเครียด เปลี่ยนพฤติกรรมการบริโภคอาหาร ไม่หวานไม่มัน พร้อมทั้งใช้สกินแคร์ที่ช่วยลดสิวและให้ความชุ่มชื้นแก่ผิวอย่างสม่ำเสมอ |
สิวฮอร์โมนเป็นปัญหาผิวที่สามารถรักษาและป้องกันได้ หากเรารู้จักสาเหตุและเลือกวิธีดูแลที่เหมาะสม ไม่ว่าจะเป็นการปรับสมดุลฮอร์โมน การดูแลผิวด้วยผลิตภัณฑ์ที่อ่อนโยน การปรับพฤติกรรมการใช้ชีวิต หรือการปรึกษาแพทย์ผิวหนังเมื่อจำเป็น สิ่งสำคัญคือให้ดูแลผิวอย่างสม่ำเสมอและใส่ใจ เพื่อคุณจะได้มีผิวใส เรียบเนียน สุขภาพดี ไร้สิวกวนใจอย่างแน่นอน
คำถามที่พบบ่อย
Q : ทำไมประจำเดือนหมดแล้ว ยังเป็นสิวอยู่ ?
A : ในวัยหมดประจำเดือน ฮอร์โมนเพศหญิงอย่างเอสโตรเจนและโปรเจสเตอโรน เริ่มผลิตในปริมาณที่น้อยลง ทำให้เกิดอาการต่าง ๆ ตามมาได้แก่ อาการร้อนวูบวาบ รอบเดือนผิดปกติ ผิวหนังสูญเสียความสามารถในการเก็บความชุ่มชื้น และผิวจะต้องใช้เวลานานกว่าในการสร้างใหม่ และรักษาตัวเอง ดังนั้นผิวจึงบางและยืดหยุ่นน้อยลง ส่งผลให้ผิวบอบบาง แห้งและไวต่อการเกิดสิว
Q : ยาคุมกำเนิดช่วยควบคุมการเกิดสิวอย่างได้ผลจริงหรือ ?
A : ยาคุมกำเนิด ได้ถูกนำมาใช้ในการต้านฤทธิ์แอนโดรเจน(ฮอร์โมนเพศชาย) ซึ่งประกอบด้วยฮอร์โมนเอสโตรเจนและโปรเจสเตอโรน สามารถลดการผลิตน้ำมันบนผิวหน้า ช่วยลดการอุดตันในรูขุมขนอันเป็นสาเหตุสำคัญของการเกิดสิว แต่มีข้อควรระวังในการใช้ยาคุมกำเนิดรักษาสิว เพราะอาจจะมีผลข้างเคียงที่อันตราย เช่น มีประวัติเกี่ยวกับการเป็นลิ่มเลือด ความดันโลหิตสูง น้ำหนักเกินเกณฑ์หรือสูบบุหรี่ เป็นต้น
Q : สิวฮอร์โมนจะหายภายในกี่วัน ?
A : การรักษาสิวฮอร์โมน ขึ้นอยู่กับระดับความรุนแรงของสิว บางรายสิวจะหายไปเองหลังเป็นประจำเดือน แต่ในบางรายอาจะเป็นสิวฮอร์โมนประมาณ 2-3 วัน ในขณะที่บางรายเป็นสิวนานถึง 2-3 สัปดาห์แล้วค่อย ๆ หายไป
Q : สิวฮอร์โมนต่างจากสิวทั่วไปอย่างไร ?
A : สิวฮอร์โมนมักเกิดขึ้นในช่วงที่ฮอร์โมนเปลี่ยนแปลง เช่น ช่วงก่อนมีประจำเดือน หรือช่วงวัยรุ่น มักเป็นสิวอักเสบ สิวหัวช้าง และเกิดบริเวณคาง กรอบหน้า แตกต่างจากสิวทั่วไป ที่เกิดจากการอุดตันของรูขุมขน และไขมันส่วนเกิน
Q : สิวฮอร์โมนหายเองได้ไหม ?
A : ในบางกรณี สิวฮอร์โมนอาจหายเอง เมื่อฮอร์โมนกลับมาสมดุล แต่สำหรับบางคนอาจต้องใช้การรักษาร่วมด้วย เพื่อป้องกันการเกิดซ้ำ และลดรอยแผลเป็น