เมื่อได้ยินคำว่า “เมลานิน” หลายคนรู้สึกกลัว เพราะมีความเข้าใจว่าเป็นสิ่งที่นำมาซึ่งปัญหาผิวมากมาย ไม่ว่าจะเป็นฝ้ากระ จุดด่างดำบนใบหน้า หรือเป็นที่มาของหน้าหมองคล้ำ ไม่กระจ่างใส และยากต่อการรักษาในบางกรณี แต่แท้ที่จริงแล้ว สิ่งที่เป็นปัจจัยกำหนดสีผิวของคนเราว่าจะขาวหรือดำ ขึ้นอยู่กับเชื้อชาติ พันธุกรรม การเปลี่ยนแปลงของฮอร์โมนในร่างกาย ถิ่นที่อยู่อาศัย รวมถึงปริมาณของแสงแดดที่ได้รับ ไม่เพียงเท่านั้น ยังเกี่ยวข้องกับความผิดปกติและความบาดเจ็บของผิว และเนื่องจากการเปลี่ยนแปลงของโครงสร้างผิวนี่เอง ได้ส่งผลให้เมลานินทำงานผิดปกติ ส่งผลให้เกิดปัญหาผิวอื่นๆตามมา ไม่เพียงเท่านั้น ด้วยความนิยมที่คนพยายามปรับสีผิวให้ขาว ทำให้พยายามหาวิธีต่างๆยับยั้งการสร้างเม็ดสี จนทำให้ระบบการสร้างเมลานินของผิวผิดเพี้ยนไป และทำให้เกิดอันตรายต่างๆตามมามากมาย แท้จริงแล้ว “เมลานิน” คืออะไรและมีหน้าที่อย่างไรในชั้นผิวหนังของคนเรา และจริงหรือไม่ที่เมลานินที่ถูกสร้างมาตามธรรมชตินั้นเป็นศัตรูตัวสำคัญของผิวสวยอย่างที่ผู้คนเข้าใจกัน เราไปทำความรู้จักกับ “เมลานิน”ด้วยกันค่ะ
เมลานินคืออะไร
เมลานิน (Melanin) เป็นเม็ดสีที่สร้างจากเซลล์ผิวหนังที่มีชื่อเรียกว่า เมลาโนไซต์ (melanocyte) ในความหมายภาษากรีกแปลว่า “สีดำ” เป็นสารสีที่มีน้ำหนักโมเลกุลสูง พบในสิ่งมีชีวิต โดยมีสีน้ำตาลแดงไปจนถึงสีดำ เป็นสารสีที่ผิวหนัง ตา และเส้นผม เกิดจากปฏิกิริยาออกซิเดชันโดยใช้เอนไซม์ (enzymatic oxidation) ของฟีนอล ถูกสังเคราะห์มาจากกรดแอมิโนไทโรซีนในเมลาโนไซต์ก่อนส่งมายังชั้นผิวหนัง เป็นหนึ่งในสิ่งที่กำหนดสีผิวที่ต่างกันของคนเรานอกเหนือจากเชื้อชาติและสภาพแวดล้อม
เมลานินมีหน้าที่อย่างไร
จากงานวิจัยพบว่าเมลานินสามารถพบได้ตามร่างกายทั้งในส่วนของผิวหนังและเม็ดเลือกซึ่งจะไหลผ่านไปยังระบบประสาท โดยบทบาทหน้าที่หลักๆของเมลานิน มีดังต่อไปนี้
- ช่วยปกป้องรีสี UVจากแสงแดด
เมลานินจะอยู่ในเมลาโนโซมขนาดใหญ่ สามารถดูดซับแสงแดดที่มีความเข้มในระดับรังสี UV ได้ แต่ในกรณีที่มีความผิดปกติของเม็ดสี เช่น โรคจากพันธุกรรม การเปลี่ยนแปลงของฮอร์โมน หรือการขาดวิตามิน อาจก่อให้เกิดอาการต่างๆ ตามมา เช่น ชั้นผิวหนังกำพร้ามีความผิดปกติ ความผิดปกติจากการเพิ่มจำนวนของเซลล์เมลาโนไซด์ รวมถึงโรคผื่นผิวหนังอักเสบ เป็นต้น - เป็นตัวควบคุมอุณหภูมิ ซึ่งทำหน้าที่ดูดซับแสงอาทิตย์และเปลี่ยนให้อยู่ในรูปพลังงานความร้อน
- เป็นส่วนที่ช่วยสนับสนุนกลไกความแข็งแรงของผิว เนื่องจากมีคุณลักษณะทางโครงสร้างที่แข็งแรงที่เชื่อมต่อ (Cross-linking) กับสายของโปรตีน ปกป้องสายโปรตีนจากการย่อยสลายได้ด้วย
- เป็นเกราะกันของโมเลกุล (Chelating properties) โดยมีลักษณะเป็นไอออน
ชนิดของเมลานิน
โดยทั่วไป เมลานินแบ่งออกเป็น 2 ชนิด ได้แก่
- ยูเมลาโนโซม (Eumelanosome)
- ฟีโอเมลาโนโซม (Pheomelanosome)
ยูเมลาโนโซม (Eumelanosome)
มีไนโตรเจนเป็นส่วนประกอบ มีขนาดใหญ่ (0.5-0.8 ไมโครเมตร) ลักษณะเป็นวงรี ถุงหุ้มจะกระจายตัวอยู่อย่างเดี่ยวๆ มีการสลายตัวที่ช้า มีการผลิตรงควัตถุสีดำและสีน้ำตาล ประกอบด้วยสาร Tyrosine, Dopa (3,4-dihydroxy pheny lanine), Dopamine (3,4-dihydroxy phene thylamine) และ Tyramine เป็นต้น เกิดได้ทั้งกับคนและสัตว์ เช่น เส้นผมสีดำในคน ขนนกสีดำ รวมถึงน้ำหมึกสีดำของปลาหมึก เป็นต้น โดยเมลานินประเภทยูเมลาโนโซม (Eumelanosome) แบ่งออกเป็น 2 แบบคือ ยูเมลานินสีดำและสีน้ำตาล
- ยูเมลานินสีดำจะให้มีสีดำเมื่อมีเม็ดสีนี้มาก และให้มีสีเทาถ้ามีปริมาณน้อย
- ยูเมลานินสีน้ำตาลจะทำให้เส้นผมมีสีน้ำตาลเมื่อมีปริมาณมาก แต่ถ้าน้อยจะเป็นสีน้ำตาลอ่อนหรือสีบรอนด์ จะพบได้มากในชาวยุโรป
ฟีโอเมลาโนโซม (Pheomelanosome)
ฟีโอเมลาโนโซม (Pheomelanosome)มีไนโตรเจน และซัลเฟอร์เป็นส่วนประกอบ มีขนาดเล็ก (0.5-0.3 ไมโครเมตร) มีลักษณะกลม มีการเกาะตัวกันเป็นกลุ่มตั้งแต่ 2-10 ถุง มีการสลายตัวที่เร็ว และมีรงควัตถุ “สีขาว” ประกอบด้วยสารหลักอย่างแคโรทีนอยด์ (Carotenoid) ซึ่งมีสีโทนส้มแดง เราสามารถเห็นได้อย่างชัดเจนใน เส้นผม ขน หรือกระบริเวณผิวหนัง เป็นต้น
เมลานินมีความสำคัญต่อผิวของคนเราอย่างไร
ในผิวชั้นหนังกำพร้า (Epidermis) ของคนเราจะพบเซลล์“เมลาโนไซด์” (Melanocyte) ที่มีลักษณะเป็นเซลล์รูปร่างแบน วงรี และมีแขนงที่เหมือนแขนขายึดจับกันอยู่ และอย่างที่ทราบกันดีว่าหน้าที่ของเซลล์นี้จะสร้างถุงเม็ดสีที่เรียกว่า “เมลานิน” (Melanosome) โดยอาศัยเอนไซม์ “ไทโรสิเนส” (Tyrosinese) เข้ามาช่วยให้เกิดการสร้างถุงเม็ดสีได้สมบูรณ์ขึ้น และที่เซลล์เมลาโนไซด์จะแทรกอยู่ระหว่าง “เซลล์เคอราติโนไซด์” (Keratinocyte) ที่ทำหน้าที่ผลิตสารเคราติน สร้างความแข็งแรงแก่ เส้นผม ขนและเล็บ และการที่เซลล์เมลาโนไซด์ และเซลล์ เคอราติโนไซด์อยู่ใกล้กัน ทำให้เส้นผม ขน เยื่อบุขนตาของคนเราแตกต่างกันด้วย ซึ่งแน่นอนว่าเมื่อเมลานินเกิดความผิดปกติก็ย่อมส่งผลให้ผิวหนังแสดงอาการผิดปกติออกมาด้วย ดังนี้
- ผิวหนังชั้นกำพร้ามีความผิดปกติ
ความผิดปกติบริเวณผิวหนังชั้นกำพร้า เกิดจากการเพิ่มจำนวนของเซลล์ส่วนประกอบของผิว ได้แก่ เซลล์เมลาโนไซด์ ทำให้ผิวมีลักษณะหนาในบริเวณใดบริเวณหนึ่ง ซึ่งส่งผลให้เกิด“กระเนื้อ” (seborrheic keratosis)ได้ - ความผิดปกติจากการเพิ่มจำนวนของเซลล์เมลาโนไซด์
ความผิดปกติจากการเพิ่มจำนวนของเซลล์เมลาโนไซด์ในบริเวณชั้นผิวหนังแท้ ได้แก่ ไฝ (melanocytic nevus) ขี้แมลงวัน (lentigines) กระแดด (solar lentigines) รวมถึงความผิดปกติที่ร้ายแรงอย่าง มะเร็งเมลาโนลา (malignant melanoma) - โรคผื่นผิวหนังอักเสบ
หลังจากที่ผิวหนังหายจากอาการอักเสบแล้วจะมีลักษณะเป็นรอยดำ เป็นปื้น ซึ่งเกิดจากการที่เซลล์เมลาโนไซด์ทำงานมากขึ้นจนผิดปกติ โดยที่เซลล์มีปริมาณเท่าเดิม ส่วนใหญ่ มักพบในผู้ที่มีอาการภูมิแพ้หรือแพ้เครื่องสำอาง ที่ทำให้ผิวระคายเคืองมาก่อน - ความผิดปกติที่เกิดจากระบบของร่างกายส่วนอื่นทำงานผิดปกติ
ความผิดปกติของเมลานินหรือการทำงานของเม็ดสีผิวภายในร่างกาย สามารถเกิดขึ้นจากความผิดปกติของระบบร่างกายในส่วนอื่นๆ เช่น ภาวะต่อมไร้ท่อทำงานผิดปกติ (ต่อมหมวกไตไม่ทำงาน) ระบบการเผาผลาญและดูดซึมของร่างกายทำงานผิดปกติ ภาวะขาดสารอาหาร เช่น วิตามินบี12 รวมถึงผลกระทบข้างเคียงจากการใช้ยาบางชนิด และภาวะอื่นๆเช่น ผลข้างเคียงจากโรคภูมิคุ้มกันบกพร่อง (HIV) ฯลฯ
เมลานินกับสีผิว และเครื่องสำอาง
โดยทั่วไป สีผิวของมนุษย์จะสามารถจำแนกออกมาได้ 6 ระดับ(skin phototype) ตามปริมาณของเม็ดสีผิวเมลานินที่เพิ่มมากขึ้นและระดับที่ลดลงของการยอมให้แสงแดดไหม้ได้ โดยสีผิวระดับที่ 6 จะเข้มที่สุด และยอมให้แดดไหม้ได้ในระดับน้อยที่สุด และโดยปกติสีผิวของคนเราจะมีความสม่ำเสมอในแต่ละบริเวณของร่างกาย แต่อาจจะมีภาวะที่เกิดความไม่สม่ำเสมอของสีผิวขึ้นได้ ซึ่งสาเหตุสำคัญก็มาจากความผิดปกติในการสร้างเม็ดสีเมลานินด้วย และความผิดปกติของสีผิวนับเป็นปัญหามากมายในเรื่องของความงาม เพราะผิวหนังได้มีการสร้างเม็ดสีผิวที่มากจนเกินไป ทำให้ผิวมีสีที่เข้มเกินกว่าระดับปกติ (hyperpigmentation) นำมาซึ่งปัญหาฝ้า กระ จุดด่างดำทั้งหลายบนใบหน้า ซึ่งในปัจจุบัน ค่านิยมของผู้คนโดยเฉพาะผู้หญิงในโลกตะวันออก ที่ต้องการมีผิวขาว ดังนั้นเครื่องสำอาง ผลิตภัณฑ์หรือวิธีการที่สามารถทำให้ผิวขาวขึ้น โดยการปรับลดระดับเม็ดสีเมลานิน จึงได้รับความนิยมเป็นอย่างมาก ซึ่งผลลัพธ์ที่เกิดขึ้นมีทั้งที่เป็นด้านบวกและลบ คือผิวขาวขึ้นจริง ในขณะที่บางคนใช้แล้วอาจเกิดอาการแพ้หรือเมื่อหยุดใช้แล้วจะทำให้ผิวคล้ำมากขึ้น เป็นต้น ปัจจุบันได้มีสารที่ช่วยยับยั้งการผลิตเม็ดสีผิวหรือยับยั้งปฏิกิริยาของเอนไซม์ไทโรซิเนส พร้อมทั้งกระบวนการขนส่งเมลาโนโซม (melanosome transfer) ไปยังเซลล์ keratinocyte ของผิวหนัง ทำให้สีผิวจางลงได้ โดยนิยมใส่ในเครื่องสำอาง ได้แก่
- อาร์บูติน (arbutin) ซึ่งเป็นสารสกัดจากพืชหลายชนิด เช่น common berry (Arctophylos urvaursi) สาร glabridin จากรากชะเอมเทศ (Glycyrrhiza glabra) mulberry extract และ licorice extract โดยออกฤทธิ์ในการลอกเซลล์ผิวหนัง (keratolytinocyte) ซึ่งจะลอกผิวหนังสีคล้ำชั้นนอกสุดออกไป ทำให้สีผิวดูขาวและสว่างใสขึ้น
- กรดแอสคอบิคและอนุพันธ์ (ascorbic acid and its dervivative) กรดโคจิก (kojic acid) ซึ่งเป็นสารชีวภาพที่ได้จากเชื้อราหรือเชื้อแบคทีเรีย
- สารสกัดจากชาเขียว ซึ่งมีสารกลุ่ม cathechin สามารถต้านปฏิกิริยาของเอนไซม์ไทโรซิเนสในหลอดทดลอง (in vitro) มีผลทำให้ผิวขาวขึ้นได้
นอกจากสารข้างต้นที่นิยมใส่ในเครื่องสำอางแล้ว ก็อาจมีสารเคมีชนิดอื่นๆที่มีฤทธิ์รบกวนกระบวนการสร้างเมลานิน สามารถส่งผลร้ายแรงที่ไม่พึงประสงค์หรือเป็นพิษต่อผิวหนังได้ เช่นสารประกอบของปรอท (mercury compounds) และไฮโดรควิโนน (hydroquinone) ซึ่งมีฤทธิ์ยับยั้งเอนไซม์ไทโรซิเนส (tyrosinase) ในกระบวนการสร้างเมลานิน โดยสารประกอบปรอท สามารถทำให้เกิดอาการแพ้ ผิวแดง ผิวบาง และเกิดรอยดำบนใบหน้าได้ นอกจากนั้นยังส่งสร้างผลกระทบเสียหายที่ร้ายแรงต่อร่างกายเมื่อมีการสะสมนานเข้า
จนทำให้ระบบทางเดินปัสสาวะอักเสบ และไตอักเสบได้ ส่วนสารไฮโดรควิโนน สามารถทำให้เกิดอาการระคายเคือง เกิดจุดด่างขาวบนผิวหนัง ทำให้ผิวไวต่อแสง ผิวแดง ดำคล้ำในที่สุด และนำไปสู่การเกิดฝ้าถาวรได้
สาเหตุที่ทำให้การผลิตเม็ดสีเมลานินผิดปกติ
มีปัจจัยหลายอย่างที่ส่งผลต่อการสร้างเม็ดสีเมลานิน ไม่ว่าจะเป็น
- พันธุกรรม
- การเปลี่ยนแปลงของระดับฮอร์โมน
- รังสียูวีจากแสงแดด ทำให้เม็ดสีเมลานินทำงานผิดปกติ เป็นการเพิ่มโอกาสให้เกิดจุดด่างดำ ฝ้า หรือกระในชั้นผิว
- การเกิดจุดด่างดำจากรอยสิว หรือการบาดเจ็บของผิวบริเวณนั้นๆ ทำให้การทำงานของเมลานินไม่สมบูรณ์เนื่องจากโครงสร้างผิวมีการเปลี่ยนแปลง
- เครื่องสำอางที่ใส่สารอันตราย ไม่ได้คุณภาพมาตรฐาน
โดยความผิดปกติของเม็ดสีผิว เป็นสัญญาณที่แสดงให้เห็นความผิดปกติทางผิวหนังที่เกิดขึ้น และอาจนำไปสู่ปัญหาที่ร้ายแรงต่อไปได้
การรักษาความผิดปกติของเมลานิน
ปัจจุบันมีการพัฒนาและคิดค้นเทคโนโลยีใหม่ๆเข้ามา เพื่อรักษาอาการผิดปกติของเมลานิน เช่น
- การทำ IPL
สามารถช่วยลดเลือนการเกิดฝ้า กระ จุดด่างดำและริ้วรอยต่างๆบนผิวหน้าได้ โดย IPL(Intense Pulse Light) เป็นแสงที่มีช่วงคลื่นของแสงกว้าง โดยมีความยาวคลื่นตั้งแต่ 420 นาโนเมตรไปจนถึง 1,200 นาโนเมตร ซึ่งแต่ละปัญหาผิวก็จะใช้ความยาวคลื่นที่ไม่เท่ากัน - การทำเลเซอร์
โดยเฉพาะการทำเลเซอร์ผิวขาวที่กำลังเป็นที่นิยมกันมากในเวลานี้ เป็นการใช้พลังงานเลเซอร์เข้าไปทำลายเม็ดสี ทำให้เม็ดสีเกิดการแตกตัว สีผิวจึงดูอ่อนลง ทั้งยังช่วยกระตุ้นให้เกิดการสร้างคอลลาเจนขึ้นมาใหม่ แต่ผลลัพธ์ก็ขึ้นอยู่กับสภาพผิวของแต่ละคนต่างกัน แต่สิ่งที่เป็นข้อควรระวังหลังจากทำเลเซอร์คือให้หลีกเลี่ยงการโดนแสงแดดแรงๆ และจำเป็นต้องมีการปกป้องผิวจากรังสียูวีในแสงแดด เพื่อไม่ให้ผิวคล้ำเสีย เนื่องจากเป็นช่วงที่เซลล์ผิวกำลังอยู่ในกระบวนการซ่อมแซมให้กลับคืนสู่สภาพเดิม ดังนั้นผิวจะมีความไวต่อแสงมากกว่าปกติ - การผลัดเซลล์ผิวด้วยสารเคมี
เป็นการใช้กรดทาบริเวณที่มีสีผิวไม่สม่ำเสมอ ซึ่งสารเหล่านี้จะช่วยผลัดเซลล์ผิวชั้นนอกให้หลุดออกและกระตุ้นการสร้างเซลล์ผิวใหม่ขึ้นมาแทนที่ ช่วยปรับสีผิวให้มีความสม่ำเสมอ ลดการอุดตันของรูขุมขน รักษาสิว ลดริ้วรอยและดูแลผิวที่ถูกทำลายจากแสงแดดซึ่งสารที่นิยมนำมาผลัดเซลล์ผิว เช่น กรดอัลฟาไฮดรอกซีหรือกรดเอเอชเอ (Alpha Hydroxy Acids: AHAs) และกรดเบต้าไฮดรอกซี (Beta Hydroxy Acids: BHAs) หรือเรตินอยด์ (Retinoid) เป็นต้น - การใช้ผลิตภัณฑ์ฟื้นฟูรักษาสภาพผิว
mesoestetic ได้คิดค้นและพัฒนาผลิตภัณฑ์เพื่อตอบโจทย์ปัญหาผิวที่เกิดจากความผิดปกติของเมลานินไม่ว่าจะเป็นฝ้า กระ จุดด่างดำบนใบหน้า โดยออกฤทธิ์ทำงานได้อย่างตรงจุดและให้ผลลัพธ์ที่น่าพึงพอใจ ดังนี้ - COSMELAN 1 facial mask
เป็นผลิตภัณฑ์ที่กำลังได้รับการตอบรับที่ดีมากๆ ด้วยสารสกัดหลักที่มีความเข้มข้นสูง มีประสิทธิภาพในการผลัดเซลล์ผิวชั้นนอก ซึ่งเป็นเซลล์ผิวเก่าที่ตายแล้ว ช่วยลดเลือนฝ้า กระ จุดด่างดำบนผิวได้เป็นอย่างดี โดยมีส่วนผสมของ Azelaic Acid, Kojic Acid, Phytic Acid, Ascorbic Acid, Arbutin, Retinyl Palmitate ,Salicylic Acid, Aloe barbadensisLeaf Juice และวิตามินB3 - COSMELAN 2 cream (maintenance cream)
ผลิตภัณฑ์ครีมทางผิวที่ช่วยเสริมประสิทธิภาพของ COSMELAN 1 facial mask โดยออกฤทธิ์ในการช่วยลดเลือนฝ้า กระ จุดด่างดำอย่างต่อเนื่อง พร้อมทั้งป้องกันการเกิดรอยดำขึ้นใหม่และป้องกันการเกิดรอยดำซ้ำ ช่วยคงไว้ซึ่งผลลัพธ์ที่ดีในระยะยาว โดยมีส่วนประกอบ Disodium Azelate Kojic Acid, B3 Phytic Acid, alpha arbutin ,Ascorbic Acid ,Licoricec และ Aloe barbadensis Leaf Juice - mesoprotech melan 130 pigment control
เป็นผลิตภัณฑ์ปกป้องผิวจากแสงแดด ที่มีค่า SPF50+ ที่สามารถปกป้องผิวจากรังสีทั้ง UVAและ UVB ได้เป็นอย่างดี นอกจากนั้น ยังช่วยลดเลือนและป้องกันการเกิดจุดด่างดำ ความหมองคล้ำของผิว ด้วยเนื้อครีมกันแดดสีเบจ จะช่วยปกปิดจุดด่างดำและรอยหมองคล้ำได้อย่างเป็นธรรมชาติ พร้อมเนื้อสัมผัสที่บางเบา เกลี่ยง่าย มีส่วนประกอบที่สำคัญ อย่างmesoprotech complex ที่ช่วยปกป้องผิวจากรังสียูวี, มีสารแอนติออกซิแดนท์ที่ช่วยปกป้องผิวจากอนุมูลอิสระในรังสีอินฟราเรดและแสงสีฟ้าที่มากระทบผิว ,Azeloglicina ( Azelaic acid) ที่ช่วยป้องกันรอยหมองคลํ้าหรือจุดด่างดํา ที่มีสาเหตุมาจากแสงแดด และSunflower seed oil (NMF) สารสกัดจากเมล็ดดอกทานตะวันที่ช่วยรักษาความชุ่มชื้นผิวตามธรรมชาติ
การดูแลสีผิวให้มีความสม่ำเสมอ
การที่ผิวหนังได้รับการกระตุ้นให้เกิดการสร้างเม็ดสีที่มากเกินปกติ ทำให้เกิดผิวคล้ำตามมา ทั้งนี้ทั้งนั้นอาจมีสาเหตุมาจากปัจจัยกระตุ้นมากมาย เช่นแสงแดด การไม่ทาครีมกันแดด การรับประทานยาบางชนิดหรือสารเคมีในเครื่องสำอาง และถึงแม้จะมีวิธีที่ช่วยแก้ไขมากมาย แต่เพื่อผลลัพธ์ที่ยั่งยืน ควรทำควบคู่กับการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมบางอย่างและหันมาดูแลผิวอย่างสม่ำเสมอ ดังนี้
- รับประทานอาหารที่มีประโยชน์
ให้เลี่ยงการรับประทานอาหารที่มีไขมันและน้ำตาลสูง อาหารรสจัดและเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ เนื่องจากอาหารประเภทนี้จะไปกระตุ้นให้เกิดการระคายเคืองและทำให้ผิวมีการสร้างเม็ดสีเมลานินที่ชัดมากขึ้น - ทำความสำอาดผิวให้สะอาดล้ำลึก
การทำความสะอาดผิว เป็นจุดเริ่มต้นของการมีผิวสวย และทำให้สีผิวมีความสม่ำเสมอ โดยให้เช็ดเครื่องสำอางออกก่อน แล้วจึงใช้โฟมหรือเจลล้างหน้าที่เหมาะกับสภาพผิวทำความสะอาดอีกรอบ - ทาครีมกันแดดเป็นประจำ
ครีมกันแดดเป็นตัวช่วยสำคัญในการปกป้องผิวจากรังสียูวี โดยแนะนำให้ทาก่อนออกแดดประมาณ 30 นาที และควรทาซ้ำทุก 2ชั่วโมง และให้เลือกครีมกันแดดที่มีค่าการปกป้องสูงๆเพื่อประสิทธิภาพในการปกป้องผิวอย่างแท้จริง - ดื่มน้ำสำอาดให้เพียงพอต่อความต้องการของร่างกาย
การดื่มน้ำสะอาดเป็นการช่วยให้ระบบของร่างกายทำงานได้ดีขึ้น ช่วยขจัดของเสียออกจากร่างกาย ทำให้ผิวแข็งแรง นุ่ม ชุ่มชื้นและช่วยปรับสีผิวให้สม่ำเสมอ - สครับผิว
การสครับผิว เป็นการผลัดเซลล์ผิวที่เสื่อมสภาพให้หลุดออก และกระตุ้นให้เกิดการสร้างเซลล์ผิวใหม่ที่แข็งแรง สดใสและมีชีวิตชีวามากขึ้น แนะนำให้ทำสัปดาห์ละประมาณ 1 ครั้ง ไม่ควรทำบ่อยจนเกินไป เพราะจะทำให้ผิวบางลงได้ - บำรุงผิวด้วยวิตามินซี
วิตามินซีได้ชื่อว่าเป็นสารต้านอนุมูลอิสระที่สามารถปกป้องผิวจากรังสียูวีที่มาทำร้ายผิวได้ ทั้งยังช่วยลดการสร้างเม็ดสีเมลานิน ทำให้สีผิวสม่ำเสมอ และฟื้นบำรุงผิวที่เสียให้กลับมากระจ่างใส
“เมลานิน” ตามธรรมชาติที่ร่างกายสร้างขึ้นมา ไม่ได้อันตรายหรือสร้างผลกระทบที่เสียหายต่อร่างกาย แต่จะนำมาซึ่งปัญหาก็ต่อเมื่อมีปัจจัยมากระตุ้นให้เกิดความผิดปกติ ทั้งฝ้า กระ จุดด่างดำ รวมถึงความไม่สม่ำเสมอของสีผิว ดังนั้น เพื่อลดปัญหาดังกล่าวควรมีการป้องกันอย่างถูกต้องและเหมาะสม เพื่อดูแลสภาพผิวให้มีความแข็งแรงจากภายใน การเลือกใช้ผลิตภัณฑ์ที่ได้คุณภาพมาตรฐานและเมื่อเกิดปัญหาที่ผิดปกติมากขึ้นแนะนำให้ไปพบแพทย์เฉพาะทางเพื่อทำการรักษาอย่างถูกวิธีต่อไป